Page 587 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 587

P18

                         การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง

                                 สำหรับใช้ระยะยาวในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์


                                 นางสาวจีณะ สิงหนาท, แพทย์หญิงขวัญหทัย สกุลสรรเสริญ และนางสาวรุ่งนภา ศักดิ์ตระกูล
                                                       โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ เขตสุขภาพที่ 3
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านโรคเลือดและโรคมะเร็ง
                  ในเด็ก ปัจจุบันนี้กุมารศัลยแพทย์สามารถทำการผ่าตัดใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางสำหรับใช้ระยะยาว

                  ในเด็กได้แล้ว ทำให้ผู้ป่วยเด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การรักษานี้เป็นการผ่าตัดที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง
                  ในการดูแลรักษาร่วมกันเป็นทีมสหสาขา แต่ยังพบว่า มีปัญหาการติดเชื้อที่สาย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
                  ต่อผู้ป่วย จึงได้ทำการศึกษานี้ขึ้นเพื่อต้องการทราบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สาย เพื่อช่วยให้แพทย์
                  และพยาบาล ตัดสินใจเลือกวิธีที่จะป้องกันและรักษาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

                  วัตถุประสงค์

                         เพื่อหาว่ามีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของผู้ป่วยที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำ
                  ส่วนกลางสำหรับใช้ระยะยาว (Hickman และ Port catheter)

                  วิธีการศึกษา
                         1. การศึกษารูปแบบ Retrospective cohort study
                         2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางสำหรับ

                  ใช้ระยะยาว (Hickman และ Port catheter) จำนวน 40 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุตั้งแต่ 3 เดือน
                  ถึง 15 ปีที่ป่วยเป็นโรคเลือด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งอื่น ๆ และโรคลำไส้สั้น (Short Bowel
                  Syndrome)

                                - เกณฑ์การคัดเลือกอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ (Inclusion criteria) ได้แก่ ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับ
                  การใส่ Hickman หรือ Port catheter ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
                                - เกณฑ์การไม่รับอาสาสมัครเข้าโครงการ (Exclusion criteria) ได้แก่ ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการ
                  ใส่สายมาจากที่อื่นด้วยเทคนิคแตกต่างกัน และ Inconclusive outcome
                         3. เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย

                         4. ขั้นตอนและวิธีในการวิเคราะห์ข้อมูล
                         ศึกษาผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการใส่สาย Hickmann และ Port catheter ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
                  จำแนกผู้ป่วยเด็กตามการติดเชื้อที่สาย และผู้ป่วยเด็กที่ไม่มีการติดเชื้อที่สาย ค้นประวัติและสอบถามข้อมูลก่อน

                  การใส่สายและหลังใส่สาย Catheter นำมาวิเคราะห์หาว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการเกิด Catheter
                  infection

                         Protocol Flow Chart
   582   583   584   585   586   587   588   589   590   591   592