Page 584 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 584

P15

                   การพัฒนาคลินิกผู้ป่วยที่มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และระบบการผ่าตัดแบบ One-visit surgery

                                                   อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
                                 Urolithiasis clinic development and One-visit surgery,

                                              Umphang district Tak province


                                                                        นางสาวกรรณิการ์ ทิอุด, นายณัฐกิต บุรีเทพ,

                                                   นางสาวเพ็ญอาภา ชาติไทยเจริญ และนายแพทย์ศุภชัย ครบตระกูลชัย
                                                                      โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก เขตสุขภาพที่ 2

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา
                         นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบได้ทั่วโลก โดยมีความชุก 4-20% ในขณะที่

                  ประเทศไทยที่มาการสำรวจพบถึง 16.9% ในภาคอีสาน อุ้มผางเป็นอำเภอชายแดน อยู่ในภาคกลางตอนเหนือ
                  ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกระเหรี่ยง การเดินทางเพื่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
                  ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 4-5 ชั่วโมง
                         จากข้อมูลการส่งต่อผู้ป่วยนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะแบบ OPD case โรงพยาบาลอุ้มผาง พบว่า

                  ปี 2563 - 2566 มีการส่งผู้ป่วยนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะไปรักษาที่โรงพยาบาลแม่สอดและโรงพยาบาลสมเด็จ
                  พระเจ้าตากสินมหาราช จำนวน 153 ราย 126 ราย 141 ราย และ 82 รายตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ
                  ของผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งหมด ร้อยละ 7.6 ร้อยละ 8.2 ร้อยละ 8.1 และร้อยละ 5.4 ตามลำดับ (จำนวนผู้ป่วยส่งต่อ
                  ทั้งหมดของปี 2563 - 2566 คือ 1,998 ราย 1,530 ราย 1,735 ราย และ1,507 ราย)

                         ทีมผู้รักษาได้สอบถามแพทย์ที่เกี่ยวข้องทำให้ทราบว่า ยังไม่มีแนวทางในการดูแลรักษา เมื่อพบนิ่ว
                  ในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่ก็จะส่งต่อไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดทุกราย มีรายไข้หลายราย
                  ที่ส่วนหนึ่งเมื่อส่งไปแล้วได้รับเพียงยาละลายนิ่วกลับมา ซึ่งทางทีมเห็นว่าหากมีแนวทางการรักษาที่ชัดเจน

                  จะทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ต้องส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัด และสามารถให้รักษาที่มีคุณภาพได้
                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. เป้าหมายหลัก เกิดระบบในการดูแลผู้ป่วยที่มีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะในอำเภออุ้มผาง
                         2. เป้าหมายรอง ลดการส่งตัวผู้ป่วยนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะไปรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้า
                  ตากสินมหาราช

                  วิธีการศึกษา
                         1. วิเคราะห์สถานการณ์นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะอำเภออุ้มผาง โดยดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล

                  ในระบบ HosOS โรงพยาบาลอุ้มผาง ใช้หลักทางระบาดวิทยาศึกษาการกระจายตามตำบล เพศ อายุ ที่อยู่อาศัย
                  และศึกษาจำนวนผู้ป่วยนิ่วรายใหม่ต่อปี ตั้งแต่ปี 2550 - มีนาคม 2566 ดังรูปที่ 1
   579   580   581   582   583   584   585   586   587   588   589