Page 589 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 589

P20

                       การพัฒนาระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก


                                                                                        นายแพทย์วรากร คำน้อย
                                                                 โรงพยาบาลพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เขตสุขภาพที่ 4

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา

                         โรงพยาบาลพัฒนานิคมเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง ตั้งอยู่ที่จังหวัดลพบุรี เขตสุขภาพที่ 4
                  ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 มีการส่งต่อผู้ป่วยโรคทางศัลยกรรมแบบซับซ้อนและไม่ซับซ้อน
                  สู่โรงพยาบาลแม่ข่ายเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ป่วยของอำเภอพัฒนานิคมประสบปัญหาในการเข้าถึงการรักษา
                  โรคที่โรงพยาบาลแม่ข่ายจากข้อจำกัดต่าง ๆ และระยะเวลาการรอคอยในการรักษาที่โรงพยาบาลแม่ข่ายเป็น
                  เวลานานเนื่องจากมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก แม้ว่าโรงพยาบาลจะมีห้องผ่าตัดรวมถึงเครื่องมือผ่าตัดที่พร้อม

                  ให้บริการผู้ป่วย และวิสัญญีพยาบาลพร้อมด้วยอุปกรณ์ทางวิสัญญี แต่ไม่มีศัลยแพทย์ที่สามารถให้บริการใน
                  การรักษาโรคทางศัลยกรรมได้ จนในปี 2565 มีศัลยแพทย์มาประจำที่โรงพยาบาลพัฒนานิคมจึงเริ่มเปิดบริการ
                  การผ่าตัดแก่ผู้ป่วยอีกครั้ง แต่ด้วยปริมาณผู้ป่วยที่เข้าทำการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในด้วยโรคอื่นๆที่มิใช่โรคทาง

                  ศัลยกรรมที่มีมากอยู่เดิม ทำให้หอผู้ป่วยมีความแออัดและอัตราครองเตียงที่สูง ทำให้ทีมแพทย์และพยาบาล
                  ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลพัฒนานิคมได้ทำการเข้าร่วมโครงการการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
                  (One Day Surgery: ODS) และผ่านการประเมินจากกรมการแพทย์ และโรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่ 25
                  มกราคม พ.ศ. 2566 ทำให้ผู้ป่วยที่สามารถเข้าเกณฑ์การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับสามารถเข้าถึงบริการได้มาก
                  ขึ้น ระยะเวลารอคอยที่สั้น ทำให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว และลดโอกาสการเปลี่ยนแปลงจากโรคที่ไม่

                  ซับซ้อนไปเป็นโรคที่ซับซ้อน ทำให้บุคคลากรสามารถดูแลผู้ป่วยด้านอื่นได้มากขึ้น รวมถึงประหยัดทรัพยากรใน
                  การดูแลผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบซับซ้อนได้

                  วัตถุประสงค์
                         1. เพื่อเปรียบเทียบผลการผ่าตัดโรคทางศัลยกรรม ระหว่างผู้ป่วยที่ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและผู้ป่วย
                  ที่ผ่าตัดแบบนัดนอนโรงพยาบาล ในโรงพยาบาลพัฒนานิคม

                         2. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการผ่าตัดรักษาแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพัฒนานิคม

                  วิธีการศึกษา
                         เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study)
                         ประชากร คือ ผู้ป่วยที่ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลพัฒนานิคม ตั้งแต่เดือน
                  เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งหมด 593 ราย

                         กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลพัฒนานิคมด้วยโรค
                  ทางศัลยกรรม ตั้งแต่เดือนเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งหมด 441 ราย
                  คัดเลือกผู้ป่วยแบบเจาะจงตามเกณฑ์ โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ และนัดนอน

                  โรงพยาบาลโดยทั้งสองกลุ่มทำการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์คนเดียวกัน
                         การรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน
                         การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ข้อมูลแบบแจงนับ (categorical data) จะถูกนำเสนอ
                  เป็น จำนวนและร้อยละ
   584   585   586   587   588   589   590   591   592   593   594