Page 594 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 594
P25
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมการดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2565 – มกราคม 2566 ศึกษาและ
นำแนวคิดการพัฒนาการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับจากกรมการแพทย์สาธารณสุขมาพัฒนาปรับใช้ในโรงพยาบาล
วางแผนพัฒนางาน นำนโยบายการพัฒนาการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับเสนอคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล
ขั้นตอนที่ 2 ระยะดำเนินการ ดำเนินการระหว่างตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 โดยนำ
แนวคิด ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาประกาศใช้ กำหนดแนวทางเวชระเบียนสำหรับผู้ป่วย
จัดตั้งคณะกรรมการดูแลโครงการ จัดตั้งศูนย์ให้การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด แต่งตั้งพยาบาล
ผู้ประสานงานเพื่อวางแผนทางการพยาบาลผู้ป่วย
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นสรุปผล โดยประเมินแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังเข้ารับบริการ
รวบรวมสถิติการทำผ่าตัดประจำปี ประชุมวิเคราะห์ผลการดำเนินงานปัญหาและการแก้ไข ร่วมถึงหาช่องทาง
พัฒนาโครงการ
ผลการศึกษา
ผลลัพธ์การดำเนินงานการให้บริการในรูปแบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับจากทั้งสิ้น 56 รายหัตถการ
จำนวนผู้ป่วย 1,078 ราย อัตราการเลื่อนผ่าตัดจากความไม่พร้อมในผู้ป่วย/ไม่สมัครใจร้อยละ 1 อัตราการเกิด
ภาวะแทรกซ้อนภายหลังผ่าตัดที่ต้อง Re-admission ร้อยละ 0.1 อัตราผู้ป่วยที่ต้องยกเลิกจากระบบบริการ
เพื่อนอนพักค้างคืนเกิน 24 ชั่วโมงจากภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ร้อยละ 0.2 ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก ร้อยละ 68 พบว่า ผู้ป่วยมีความพึงพอใจที่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดและได้รับ
การติดตามโทรเยี่ยมเมื่อจำหน่ายทุเลา ด้านการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในโครงการสามารถสร้างรายได้
ให้โรงพยาบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มากถึง 5,500,000 บาท ซึ่งมากกว่าการประเมินการเบิกจ่าย
ตามปกติถึง 1,500,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายต้นทุนที่ต่ำกว่าและประสิทธิภาพการรักษาสูงกว่า
อภิปรายผล
การพัฒนาใช้ระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ทำให้สามารถลดวันนอนผู้ป่วยจาก 3 วัน
เหลือเพียง 1 วัน (น้อยกว่า 24 ชั่วโมงตามกำหนดโครงการ) โดยมีประสิทธิภาพในการดูแลรักษาที่ดีขึ้น
ในทุกด้าน จากการรวบรวมผลลัพธ์ในด้านต่าง ๆ และจากการรวบรวมสถิติการผ่าตัดภายในโรงพยาบาล
ประจำปี พบว่า ปริมาณการผ่าตัดทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ ร้อยละ 25 จากการวิเคราะห์ พบว่า
เป็นผลลัพธ์เชิงบวกทางอ้อมจากการทำโครงการ ด้านความแออัดของหอผู้ป่วยในมีสถานการณ์ที่ดีขึ้น
และภาระงานลดลงชัดเจน เพิ่มโอกาสในการพัฒนางานทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง ด้านการสนับสนุนองค์กร
และชุมชน พบว่า การนำรูปแบบโครงการมาใช้แก้ปัญหางานการผ่าตัดที่มีระยะรอคอยนานโดยการจัดกิจกรรม
พิเศษเพื่อผ่าตัดพร้อมกันจำนวนมากในโอกาสเฉพาะต่าง ๆ มีความเหมาะสมและปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำโครงการทั้งแก่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
รวมถึงการจัดประชุมเป็นระยะเพื่อกระจายความรู้ ทบทวนกระบวนการทำงานและประเมินผลระยะสั้น
2. ขยายรูปแบบการทำโครงการสู่งานการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนและกลุ่มผู้ป่วยที่มีสิทธิการรักษาอื่น ๆ
โดยยึดจุดเด่นด้านความปลอดภัยและต้นทุนการบริการ ศึกษาระเบียบและการเบิกจ่าย เพื่อให้การดำเนินงาน
มีประสิทธิภาพ
3. เป็นตัวอย่างการทำงานที่เปิดรับรูปแบบการทำงานและนวัตกรรมใหม่ ๆ นำมาปรับประยุกต์กับ
การทำงานประจำอย่างจริงจัง ผลลัพธ์จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและประชาชน