Page 599 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 599
P30
การพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยนอกที่ได้รับการผ่าตัดก้อนที่เต้านมแบบวันเดียวกลับ
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
นายแพทย์ถนอมศิลป์ ก้านมะลิ, ชุติณัชชา โชติกฤติพงษ์, วรวุฒิ จันทร์เพ็ง และคณะ
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
มะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญพบได้ทั้งเพศชายและหญิง โดยทั่วโลกพบเป็นอันดับหนึ่ง
ในเพศหญิง ปี 2565 ประเทศไทยพบเพศหญิงเป็นมะเร็งเต้านม จำนวน 38,559 ราย ส่วนใหญ่พบในหญิง
1
อายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 19,776 ราย รองลงมาคือ อายุ 50 – 59 ปี จำนวน 12,181 ราย และอายุ 40 – 49
2
ปี จำนวน 5,177 ราย ปี 2565 โรงพยาบาลกาฬสินธุ์มีผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดก้อนที่เต้านม จำนวน 139 ราย
โดยเข้าเกณฑ์ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ 109 ราย (ร้อยละ 78.42) เดิมการผ่าตัดก้อนที่เต้านมให้บริการแบบ
3
ผู้ป่วยในโดยนัดหมายล่วงหน้า นอนโรงพยาบาลคืนก่อนผ่าตัด ดมยาสลบระหว่างผ่าตัด สังเกตอาการที่หอ
ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ใช้เวลานอนโรงพยาบาล 2-3 วันต่อการผ่าตัดแต่ละครั้ง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์สมัครเข้าร่วม
โครงการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) ตั้งแต่ปี 2561 โดยขยาย
3,4
ขอบเขตบริการครอบคลุมถึงการผ่าตัดก้อนที่เต้านมซึ่งเป็นโรคหัตถการเพิ่มเติมในปี 2565 และเพื่อเป็นการ
พัฒนาระบบบริการ ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลารอคอย ลดความแออัดลงกว่าระบบบริการเดิม คณะผู้วิจัยจึงพัฒนา
รูปแบบบริการผู้ป่วยนอกที่ได้รับการผ่าตัดก้อนที่เต้านมแบบวันเดียวกลับ ขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อ
1. วิเคราะห์ระบบบริการผ่าตัดก้อนที่เต้านมแบบเดิม
2. พัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยนอกที่ได้รับการผ่าตัดก้อนที่เต้านมแบบวันเดียวกลับโรงพยาบาล
กาฬสินธุ์
3. นำรูปแบบฯ ไปใช้ และศึกษาลัพธ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ (1) ผลการดำเนินการฯ ตามตัวชี้วัด: เลื่อน/งด
ผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อ และ Re-admit (2) ค่าใช้จ่ายในการรักษา (3) ระยะเวลาในการเข้ารับ
รักษา (4) กิจกรรมตามรูปแบบฯ ที่สามารถปฏิบัติได้จริง และ (5) ความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ให้บริการ
วิธีการศึกษา
เป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and development) 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 วิเคราะห์ระบบบริการผ่าตัดก้อนที่เต้านม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์เดิม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดก้อนที่เต้านม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 18 คน ได้แก่ ศัลยแพทย์ 7 คน พยาบาลห้องผ่าตัด 10 คน พยาบาล
แผนกผู้ป่วยนอกแผนกศัลยกรรม 1 คน เครื่องมือที่ใช้: แนวทางการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับปัญหา และแนวทาง
5
การดำเนินการผ่าตัดก้อนเต้านม วิเคราะห์ข้อมูล: วิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบบริการฯ ตรวจสอบความเหมาะสม ยาก-ง่ายต่อการใช้แนวปฏิบัติ ประเมิน
ประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล6 (Appraisal of Guideline for
Research & Evaluation II; AGREE II) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ผลดังนี้ คะแนนภาพรวมด้าน