Page 596 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 596
P27
นวัตกรรมการผ่าตัดแบบส่องกล้องด้วยเทคนิคเจาะถุงน้ำดีร่วมกับใช้ถุงรองรับชิ้นเนื้อ
ในผู้ป่วยโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
Innovation of Laparoscopic Cholecystectomy by gall bladder puncture
technique with specimen retrieval bag for Patients with Acute Calculous
Cholecystitis
นายแพทย์ถนอมศิลป์ ก้านมะลิ, นายแพทย์กิตติพร กลิ่นขจร,
ณัทธีญา จินดากุล และ เยาวเรศ ก้านมะลิ
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันร้อยละ 90-95 เกิดจากการที่มีนิ่วอุดตันที่ Cystic duct หรือที่คอ (Neck
คือส่วนของถุงน้ำดีที่ติดกับ Cystic duct) ทำให้เกิดความดันสูงในถุงน้ำดีและจะมีการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการ
1
ปวดแน่น (Biliary colic) ที่บริเวณลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา คำว่า Colic มักใช้สำหรับการปวดแบบลำไส้บิด
คือ ปวดจี๊ด ๆ แล้วหาย ปวดเป็นพัก ๆ แต่ในกรณีของ Biliary colic จะไม่ปวดแบบจี๊ด ๆ แต่จะปวดแบบตื้อ ๆ
แต่รุนแรง เป็นระยะเวลาประมาณ 30 นาที ถึง 2-3 ชม. แล้วจะทุเลา การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกในปัจจุบัน
สามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องที่ใส่ผ่านหน้าท้อง ที่ทำให้มีแผลเป็นรูเล็ก ๆ กลับบ้านได้เร็ว หรือที่เรียกว่า
laparoscopic cholecystectomy : LC โดยแนวทางปฏิบัติแนะนำให้ทำ LC ภายใน 7 วันหลังเข้าโรงพยาบาล
หรือภายใน 10 วัน จากสถิติของแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ พบว่า ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีอักเสบ
2
เฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้องมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2564 - 2566 คิดเป็น
3
ร้อยละ 49.44 48.24 และ 58.75 ตามลำดับ ทั้งนี้การรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีที่มีภาวะอักเสบนั้น
โดยทั่วไปคือ การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องปกติและการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องโดยไม่เจาะเอาน้ำดีออกจาก
ถุงน้ำดีออกก่อนการตัดเลาะถุงน้ำดี สำหรับการพัฒนานวัตกรรมเทคนิคการผ่าตัดครั้งนี้ ใช้วิธีเจาะและดูด
น้ำดีก่อน จากนั้นทำการตัดเลาะให้ถุงน้ำดีตกลงอยู่ในถุงรองรับชิ้นเนื้อ ซึ่งวิธีการทั้งสองมีเป้าหมายเดียวกัน
คือ ความสะดวกรวดเร็วในการผ่าตัด ป้องกันการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด หรือไม่เกิดการปนเปื้อนของน้ำดี
ในช่องท้อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองวิธีการย่อมจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป เช่น วิธีการที่หนึ่งอาจใช้
ระยะเวลาของการผ่าตัดที่นานขึ้น และการเจาะถุงน้ำดีต้องอาศัยความแม่นยำในตำแหน่งที่ศัลยแพทย์
ต้องแน่ใจว่าจะไม่เกิดการแตกรั่วขณะทำการเจาะและดูดเอาน้ำดีออก วิธีการที่สองอาจเกิดภาวะถุงน้ำดีแตก
ทำให้น้ำดีรั่วในช่องท้องได้หากศัลยแพทย์ไม่ระมัดระวังมากพอ ในฐานะแพทย์ศัลยกรรมมีความสนใจที่จะ
4, 5
พัฒนานวัตกรรมการผ่าตัดแบบส่องกล้องด้วยเทคนิคการเจาะถุงน้ำดีร่วมกับการใช้ถุงรองรับชิ้นเนื้อในผู้ป่วย
โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน มุ่งศึกษาผลที่ได้จากเทคนิคใหม่นี้ในประเด็นของระยะเวลาการผ่าตัด การสูญเสียเลือด
การติดเชื้อของแผล ระยะเวลานอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับผ่าตัดโดยใช้ถุงรองรับชิ้นเนื้อ
ที่ประดิษฐ์ขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อประเมินความต้องการพัฒนางาน พัฒนานวัตกรรมเทคนิคการผ่าตัด และศึกษาผลลัพธ์ของการใช้
นวัตกรรมการผ่าตัดแบบส่องกล้องด้วยเทคนิคการเจาะถุงน้ำดีร่วมกับการใช้ถุงรองรับชิ้นเนื้อในผู้ป่วยโรคถุง
น้ำดีอักเสบเฉียบพลัน