Page 600 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 600
P31
คุณภาพของรูปแบบ: ร้อยละ 94.67 ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) เท่ากับ .96
ตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00
ระยะที่ 3 นำรูปแบบฯ ไปใช้และศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล เลือกแบบเจาะจง (Purposive
Sampling) จากผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดก้อนที่เต้านมฯ ตั้งแต่ตุลาคม 2565 - มิถุนายน 2566 จำนวน 109
คน และแพทย์พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยฯ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ : 1) รูปแบบบริการผ่าตัดเต้านมแบบวัน
เดียวกลับที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วในขั้นตอนที่ 2 2) แบบบันทึกผลการดำเนินการฯ ตามตัวชี้วัด
ค่ารักษา และระยะเวลารักษา 3) แบบประเมินกิจกรรมตามรูปแบบฯ ที่สามารถปฏิบัติได้จริง และ 4) แบบ
ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ให้บริการ วิเคราะห์ข้อมูล: แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม สถิติที่ใช้: สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ:
Independent Sampling t-test โครงร่างการวิจัยนี้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จาก
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เลขที่ COA 019-2022
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการสนทนากลุ่ม (1) ปัญหาการให้บริการผ่าตัดก้อนที่เต้านมแบบเดิม: ยังไม่สามารถให้บริการ
แบบวันเดียวกลับได้ เนื่องจากจำเป็นต้องนัดหมาย เตรียมผ่าตัดวันก่อนผ่าตัด ผ่าตัดที่ห้องผ่าตัดใหญ่ ดม
ยาสลบ สังเกตอาการหลังผ่าตัด ซึ่งใช้ระยะเวลานอนโรงพยาบาล 2-3 วัน (2) แนวทางการพัฒนา: ปรับระบบ
โดยให้บริการแบบผู้ป่วยนอก ได้แก่ เจาะ Lab Set ผ่าตัด ผ่าตัดที่ห้องผ่าตัดเล็ก และให้กลับบ้านได้ในวัน
เดียวกัน กำหนดผู้ติดตามเยี่ยม
2. รูปแบบรูปแบบบริการฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักคือ (1) แรกรับที่ OPD:
ซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยศัลยแพทย์ เจาะ Lab, Set OR (ODS) ให้คำแนะนำ (2) ก่อนผ่าตัด: ส่งผู้ป่วยที่
ห้องผ่าตัดเล็กตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนผ่าตัด (3) ระหว่างผ่าตัด: การดูแลระหว่างผ่าตัด และ (4) หลัง
ผ่าตัด: การส่งชิ้นเนื้อตรวจ รับยา ให้แนะนำโดย Nurse care manager ก่อนกลับบ้าน รวมทั้งการให้
คำปรึกษาทาง Line application และติดตามเยี่ยมวันที่ 1, 2 และ 3
3. ผลลัพธ์จากการนำรูปแบบบริการฯ ไปใช้กับผู้ป่วย 109 ราย พบว่า 1) ผลการดำเนินการฯ ตาม
ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ทุกตัว : (1) อัตราการเลื่อน/งดผ่าตัด ร้อยละ 0, (2) อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
จนไม่สามารถจำหน่ายได้ ร้อยละ 0, (3) อัตราการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ร้อยละ 0 และ (4) อัตรา Re-admit
ภายใน 48 ชั่วโมงหลังจำหน่าย ร้อยละ 0 2) ค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ย 3,740.85 บาท/ราย ส่วนรูปแบบเดิม
14,249.52 บาท/ราย) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายฯ พบว่า การผ่าตัดก้อนที่เต้านมแบบวันเดียว
กลับมีค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายฯ ต่ำกว่าและรูปแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ระยะเวลา
การเข้ารับรักษาเฉลี่ย 4.98 ช.ม./ราย ส่วนรูปแบบเดิม 30.77 ช.ม./ราย) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ
ระยะเวลาฯ พบว่า การผ่าตัดก้อนที่เต้านมแบบวันเดียวกลับมีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาฯ ต่ำกว่ารูปแบบเดิมอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ร้อยละของกิจกรรมตามรูปแบบฯ ที่สามารถปฏิบัติได้จริงทั้งในระยะก่อน
ผ่าตัด ระยะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัด คิดเป็นร้อยละ 100 และ 5) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจทั้งของผู้ใช้
รูปแบบบริการฯ และผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean= 4.76, SD.=.87; Mean= 4.86, SD.=.78
ตามลำดับ)