Page 605 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 605
P36
ผลการรักษาการผ่าตัดไส้ติ่งแบบวันเดียวกลับ (ODS) ในโรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
(Outcome of One Day surgery in appendectomy patient
at Rattanaburi Hospital, Surin)
นายแพทย์พีรพงษ์ อินทร์เหลา
โรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความเป็นมาและคำสำคัญ
โรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง (M2) มีการขับเคลื่อนพัฒนา
ระบบบริการตามนโยบายกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบ
วันเดียวกลับและพัฒนาระบบการให้บริการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home Ward) เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดี
ลดระยะเวลารอคอย ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ลดความแออัดและลดจำนวนวันนอน
ในโรงพยาบาล
ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมาโรงพยาบาลรัตนบุรี ได้จัดตั้งและพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
โดยมีการผ่าตัดในผู้ป่วยไม่เร่งด่วน เช่น ไส้เลื่อนขาหนีบ ก้อนเต้านม ติ่งเนื้อที่ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และ
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เป็นต้นมา โรงพยาบาลรัตนบุรีได้จัดตั้งตั้งและพัฒนาระบบการให้บริการดูแล
ผู้ป่วยในที่บ้าน(Home Ward) ทั้ง 7 กลุ่มโรค ซึ่งมีระบบดูแลรักษาผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบผ่าตัดวันเดียว
กลับและแบบ Home ward รวมอยู่ด้วย ภาวะไส้ติ่งอักเสบจัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบอันดับต้น ๆ ทางศัลยกรรม
ในช่องท้อง ของโรงพยาบาลรัตนบุรี และจากข้อมูลผู้ป่วยที่ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบในโรงพยาบาลรัตนบุรีปี 2563 –
2565 เป็นจำนวน 142 ราย 156 ราย และ 160 ราย ตามลำดับ จึงได้มีการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย
หลังการผ่าตัดไส้ติ่งแบบผ่าตัดวันเดียวกลับ (ODS) และแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ในทีมสหวิชาชีพ
ทั้งในหน่วยงานและเครือข่ายนอกโรงพยาบาลรัตนบุรี โดยมีแนวปฏิบัติการดูแลและคัดกรองผู้ป่วยครอบคลุม
ตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้นต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยในและที่บ้าน ส่งผลให้
ผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดในเกณฑ์ที่ดี
ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - สิงหาคม พ.ศ. 2566 มีผู้ป่วยจำนวน 11 ราย และมีผู้ป่วย
ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบทั้งหมด 68 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.18 (11/68) ผู้ป่วยผ่านตามเกณฑ์การคัดกรอง
และแพทย์ได้วางแผนการรักษาผู้ป่วยเข้ารับบริการผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) และได้ลงในทะเบียน
A-MED ได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ร้อยละ 100 (11/11) ผลลัพธ์ติดตามเยี่ยมอาการและให้การดูแลรักษา
ต่อเนื่องจำนวน 3 วันผ่านระบบ A - MED และ Telemedicine ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ไม่มีอุบัติการณ์รับ
ผู้ป่วยกลับเข้าเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาล เมื่อครบ 7 วันหลังผ่าตัดได้นัดตัดไหมแผลติดดีทั้ง 11 ราย และครบ
14 วันหลังผ่าตัดได้นัดติดตามผู้ป่วยที่คลินิกศัลยกรรม ผลชิ้นเนื้ออ่านเป็นไส้ติ่งอักเสบทั้ง 11 ราย ผู้ป่วยมีความ
พึงพอใจในบริการระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.56
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและเข้าสู่
การรักษาแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home Ward)
2. เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในโรงพยาบาลรัตนบุรี