Page 603 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 603
P34
Loop 3 1) พยาบาลทำแผลให้ผู้ป่วยโดยปฏิบัติดังนี้ 1.1) ให้ข้อมูลและคำแนะนำแก่ผู้ป่วยให้เข้าใจ
เกี่ยวกับวัสดุปิดแผลและการปฏิบัติตัว 1.2) อาบน้ำด้วยฝักบัวที่มีละอองฝอยนุ่มและสระผมให้สะอาดด้วยสบู่
1.3) Scrub แผลด้วย 4% hibiscrub และตัดเล็มผิวหนังที่ตายออกให้หมดและสะอาดที่สุด จากนั้นล้างแผล
ด้วย NSS ปริมาณ 1,000-2,000 CC หรือมากว่านั้นตามสภาพแผล 1.4) Dressing แผลด้วยสำลีหรือ Gauze
ชุบ NSS อีกครั้ง 1.5) ใช้แผ่นวัสดุปิดแผล Advanced Modern dressing ให้คลุมและแนบกับบาดแผล ปิดทับ
ด้วยก๊อส 1.6) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดร่างกาย สิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหาร ส่งเสริม
โภชนาการโดยจัดเมนูอาหารให้ได้รับสารอาหารและพลังงานตามมาตรฐานการดูแลด้านโภชนาการ
ของหน่วยงาน 1.7) Observe อาการผิดปกติของบาดแผล หากพบ Exudate ซึมให้เปลี่ยนเฉพาะ Outer
dressingเท่านั้น (วันที่ 3 หรือ 4 หลังทำแผล) จากการทดลองเว้นวัน Dressing เมื่อครบ 4 วัน แกะแผ่นวัสดุ
ปิดแผลเพื่อทำแผลและเปลี่ยนวัสดุปิดแผล ปรากฏว่าแผ่นปิดแผลติดบาดแผลเวลาลอกออกยาก ทำให้เกิดการ
ฉีกขาดของผิวหนังในส่วนที่กำลังมี Healing จึงปรึกษาและทบทวนกระบวนการใหม่โดยทดลองเว้นวัน
Dressing จนครบ 7 วัน วัสดุปิดแผลเริ่มแห้ง แล้วชะล้างด้วย NSS จึงทำให้วัสดุปิดแผลลอกและหลุดออกได้
ง่ายขึ้นไม่เกิดรอยแผลใหม่และบาดแผลไม่มีการติดเชื้อ 1.8) ใช้กระบวนการทำแผลที่ผ่านการทดลองและแก้ไข
ใหม่ ปิดแผลไว้ 7 วัน หลังปิดแผลภายใน 1 - 2 วัน ประเมินลักษณะบาดแผลรอบนอกไม่ซึมหรือแฉะไม่มี
Sign infection สามารถจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านได้เมื่อผู้ป่วยต้องการ โดยนัดมาเปิดและประเมินบาดแผล
ที่หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนทุก 7 - 10 วัน จนแผลหายหรือแผลพร้อมทำการปิดแผลด้วยวิธีปลูกผิวหนัง (Skin graft)
1.9) กรณี Case ที่จำหน่ายหลังทำแผลแนะนำให้เปลี่ยน Outer dressing (ก๊อสปิดแผล) ในวันที่ 3 หรือ 4
ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน โดยให้วัสดุปิดแผลไปด้วย พร้อมใบส่งต่อการทำแผลและติดตามประเมินบาดแผล
ทาง Line กับผู้ป่วยจนแผลหายสามารถซักถามข้อสงสัยผ่าน Line หรือวิดีโอคอลได้ตลอดเวลา
2. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมประเมินผลดังนี้ 2.1) ขนาดบาดแผลของกลุ่มตัวอย่าง
นำมาแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.2) วันนอนรักษา ค่าใช้จ่าย จำนวนครั้ง
การทำแผล ของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการทำแผลทั้งสองแบบ นำมาทดสอบทางสถิติด้วยสถิติพรรณนา
2.3) คำนวณอัตราการติดเชื้อแผลไหม้ 2.4) วิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ
ด้วยสถิติพรรณนา
ผลการศึกษา
บาดแผลไหม้ ในกลุ่มตัวอย่าง Local dressing เฉลี่ย 10.95% BSA กลุ่ม Advanced Modern
dressing เฉลี่ย 16.60% BSA กลุ่มตัวอย่าง Local dressing มีวันนอนเฉลี่ย 9.10 วัน S.D 8.22
กลุ่ม Advanced Modern dressing วันนอนเฉลี่ย 4.30 วัน S.D 2.71 ค่ารักษา กลุ่มตัวอย่าง Local dressing
มีค่ารักษาเฉลี่ย 29,580 บาท S.D 2.83 กลุ่ม Advanced Modern dressing ค่ารักษาเฉลี่ย 1,157 บาท
S.D 1.59 และจำนวนครั้งของการทำแผล กลุ่มตัวอย่าง Local dressing เฉลี่ยทำแผล 11.00 ราย S.D 8.99
ส่วนกลุ่ม Advanced Modern dressing เฉลี่ย 1.60 ราย S.D .51 กลุ่มตัวอย่าง Local dressing มีอัตราการ
ติดเชื้อ 0.10 ต่อ 1,000 วันนอน และกลุ่ม Advanced Modern dressing= 0.00 ต่อ 1,000 วันนอน
ผลการศึกษา แสดงว่า การทำแผลตามแนวพัฒนาโดยการใช้ Advanced Modern dressing สามารถลด
วันนอน ลดจำนวนครั้งของการทำแผล และลดอัตราการติดเชื้อได้ดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .05
เมื่อเปรียบเทียบกับการทำแผลตามกระบวนการ Local dressing