Page 602 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 602
P33
Promote Burn wound healing Selecting using by Advanced Modern dressing
นางสาวมณีรัตน์ ศรีแก้ว และเจ้าหน้าที่หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก
โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
แผลไหม้เป็นอุบัติเหตุที่รุนแรง และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย และการตายค่อนข้างสูง
พบอัตราภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลมีภาวะติดเชื้อที่แผลไหม้ 18.5 ครั้ง
ต่อ 1,000 วันนอนโรงพยาบาล สถิติการติดเชื้อที่แผลไหม้ของหน่วยไฟไหม้น้ำร้อนในปี 2564 – 2566
อัตราร้อยละ 0.06 ร้อยละ 2.0 และ ร้อยละ 0 ต่อ 1,000 วันนอน เดิมการดูแลบาดแผลไหม้ ต้องทำแผล
ต่อเนื่องและเปลี่ยนวัสดุปิดแผลทุกวันจนกว่าแผลจะหายสนิท ทำให้เกิดความเจ็บปวดจากการทำแผล ต้องใช้
ยาแก้ปวดชนิดรุนแรงกลุ่ม Strong opioid ได้แก่ ยา Morphine หรือ Fentanyl ฉีดเพื่อบรรเทาอาการปวด
การทำแผลบ่อย ๆ ทำให้ Epithelium ถูกทำลาย แผลหายช้าลง นอนโรงพยาบาลนานขึ้น เพิ่มภาระงาน
ของเจ้าหน้าที่และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ในปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ของการดูแลบาดแผลไหม้ ทำให้
มีทางเลือกในการทำแผลมากขึ้น จึงทดลองนำมาใช้ในการทำแผล Burn เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วย
บาดแผลไหม้ด้าน Burn Wound care ให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยบาดแผลไหม้ด้าน Burn Wound care
วิธีการศึกษา ขั้นตอนดำเนินงาน
การทำแผลวิธีเดิมทำแผลวันละ 1- 2 ครั้ง/วัน และเมื่อแผลซึม ทำให้เพิ่มภาระงานของเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย
มีความเจ็บปวดขณะทำแผล เพิ่มค่าใช้จ่าย จากปัญหาดังกล่าวจึงได้นำแนวคิดของ Advance Modern
dressing มาใช้ในการดูแลแผล ซึ่งคาดว่าสามารถลดภาระงาน ค่าใช้จ่าย จำนวนการเปิดแผล ลดภาวะแทรกซ้อน
ความปวด และทำให้ลักษณะแผลดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่เกิดความพึงพอใจมากขึ้นจึงทดลองนำมาใช้
ในการทำแผล Burn เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยแผลไหม้ด้าน Burn Wound care ให้มีประสิทธิภาพ
และมีคุณภาพยิ่งขึ้นโดยมีขั้นตอนดำเนินงานดังนี้
กิจกรรมการพัฒนา
Loop 1 1) ศึกษาข้อมูลหาความรู้ Update Burn wound care โดยเข้าร่วมงานวิชาการประจำปี
ของชมรมสมานแผลแห่งประเทศไทยร่วมกับแพทย์ และร่วมกันทบทวนกระบวนการ Scrub and Dressing
Burn wound 2) Burn team ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 3) ศึกษาคุณสมบัติของวัสดุปิดแผลและวิธีใช้
รวมถึงราคาของวัสดุปิดแผล (เอกสาร/งานวิจัย/การนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการของศัลยแพทย์
“ชมรมสมานแผลแห่งประเทศไทย/Cops Burn Nurse of Thailand (ชุมชนนักปฏิบัติการพยาบาลบาดแผล
ไหม้แห่งประเทศไทย)
Loop 2 1) ดำเนินการขออนุมัติซื้อวัสดุเข้าโรงพยาบาลโดยแพทย์แผนกศัลยกรรมตกแต่ง 2) เลือกใช้
วัสดุในผู้ป่วยบาดแผลไหม้ที่มีความลึกระดับ 2 ซึ่งแผลหายเองโดยไม่ต้องเข้าห้องผ่าตัด ทั้งในเคสที่บาดเจ็บ
เล็กน้อย (1-9%) ปานกลาง (10-19%) และรุนแรง (20% ขึ้นไป) 3) แพทย์มีคำสั่งให้ทำแผลด้วยวัสดุ
Advanced Modern dressing