Page 618 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 618

Q4

                                   ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน

                                     การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในผู้ป่วยวิกฤต


                                                                                    พนาวรรณ บุญพิมล และคณะ

                                                                      โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เขตสุขภาพที่ 4
                                                                                               ประเภท วิชาการ



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ผู้ป่วยวิกฤตที่มีระบบหายใจล้มเหลว ที่จำเป็นต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ ในระหว่างที่ผู้ป่วยวิกฤต

                  ได้รับการรักษา เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย ได้แก่ การถอดท่อช่วยหายโดยไม่ได้วางแผน (Unplanned

                  Extubation: UE) ในต่างประเทศผู้ป่วยวิกฤตพบอัตรา UE ร้อยละ 14.20  (Selven, Edriss, Sigler & Tseng,
                  2014) ผู้ป่วยวิกฤตที่ดึงท่อช่วยหายใจต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจใหม่ร้อยละ 43.30 ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ

                  ในระบบทางเดินหายใจตามมา (Lee et al., 2015) ส่วนในประเทศไทยพบอัตรา UE เฉลี่ย 7.5:1,000 วัน
                  คาท่อช่วยหายใจ โดยอัตราการเกิดอยู่ระหว่าง 1.5:1,000 ถึง 16:1,000 วันคาท่อช่วยหายใจ (สุเพียร โภคทิพย์

                  และคณะ, 2562) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยหลังเกิด UE ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล่องเสียง สายเสียง

                  ท่อหลอดลมมีการหดตัว เกิดอาการหายใจลำบาก บางรายเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ในบางรายใส่ท่อช่วย
                  หายใจซ้ำ ทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจน ระบบหายใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้ นอกจากนี้

                  ยังพบว่า UE มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตสูงในโรงพยาบาล (Chao et al., 2017) ส่งผลให้เพิ่มจำนวน
                  วันใช้เครื่องช่วยหายใจและวันนอนโรงพยาบาล เพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามมา โรงพยาบาล

                  พระนครศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2567 พบอัตรา UE 25.84, 27.26 และ 29.51 ต่อ 1,000 วัน

                  คาท่อช่วยหายใจตามลำดับ และอัตรา UE ในผู้ป่วยวิกฤติ 7.06, 6.08 และ 3.61 ต่อ 1,000 วันคาท่อช่วย
                  หายใจตามลำดับ (งานสถิติโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา, 2565) จากข้อมูลพบว่า UE ยังพบมาก บางราย

                  ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1) เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์ UE ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง

                         2) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันใส่ท่อช่วยหายใจ และจำนวนวันหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในกลุ่มควบคุม
                  และกลุ่มทดลอง

                         3) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกัน UE ในผู้ป่วยวิกฤต

                         4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ

                  วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research design)  กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบ

                  เจาะจง ประกอบด้วย 1) พยาบาลวิชาชีพ 12 คน 2) ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย
                  วิกฤตอายุรกรรม กลุ่มทดลอง 40 คน กลุ่มควบคุม 40 คน ผู้วิจัยคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้

                  โปรแกรม G* power 3.1.9.4 กำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ .05 กำหนดอำนาจการทดสอบ (Power of test)
                  เท่ากับ .80 และคำนวณขนาดอิทธิพล (Effect size) จากงานวิจัยของ รัตนา ทองแจ่ม (2563) ซึ่งมีความ
   613   614   615   616   617   618   619   620   621   622   623