Page 617 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 617
Q3
อภิปรายผล
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความแม่นยำของเครื่องมือ 3 ชนิดได้แก่ DRAGON,
HAT และ ASTRAL score ในการทำนายผลลัพธ์การเกิดเลือดออกในสมองภายหลังได้รับยา rt-PA ของผู้ป่วย
โรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพนัสนิคมซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด
เล็ก ตั้งแต่ 1 พ.ย. 2564 ถึง 30 เม.ย. 2566 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 28 ราย พบผู้ป่วยที่มีเลือดออกใน
สมองหลังได้ยา rt-PA 5 ราย โดยภาพรวมค่าความถูกต้องจากการประเมินโดยเครื่องมือทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวไป
แล้วนั้น พบว่า มีความสอดคล้องกันในเชิงสถิติ ทำให้สามารถสรุปจากการเปรียบเทียบเครื่องมือวัดทั้ง 3
ประเภทได้ว่า HAT และ ASTRAL score ให้ค่า Area Under ROC Curve (AUC) สูงสุดเท่ากันคือ 0.79 นับ
ได้ว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในจำนวนเครื่องมือทั้ง 3 ชนิด ที่จะสามารถทำนายการเกิดภาวะเลือดออกในสมอง
หลังจากได้รับยา rt-PA ของกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันจากการศึกษานี้ ในขณะเดียวกัน
DRAGON score แม้จะให้ค่า Area Under ROC Curve (AUC) น้อยกว่า แต่ก็น้อยกว่าเพียง 0.01 ซึ่งถือว่ามี
ประสิทธิภาพที่ดีเช่นเดียวกัน เนื่องจากค่าความแม่นยำและประสิทธิภาพเชิงสถิติที่แสดงมีค่าใกล้เคียงกันทุก
เครื่องมือวัดที่สามารถนำมาใช้จากงานวิจัยนี้
สำหรับ ASTRAL score นั้น ถึงแม้จะให้ผล AUC เท่ากับ HAT score แต่เนื่องจากในบริบทของ
โรงพยาบาลพนัสนิคมหรือโรงพยาบาลที่สามารถให้ rt-PA ได้นั้น ผู้ป่วยทุกรายจะต้องทำการสแกนสมองด้วย
เครื่อง CT ก่อนเสมอ และจากข้อมูลการศึกษาพบว่า ขนาดการขาดเลือดของเนื้อสมองเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผล
ต่อการเกิดเลือดออกในสมองหลังได้รับ rt-PA ได้ ดังนั้นการใช้ HAT และ DRAGON น่าจะเหมาะสมมากกว่า
แต่อาจใช้ ASTRAL ได้ในบางกรณี เช่น ปรับใช้ในโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ไม่สามารถทำ
CT scan ได้ เพื่อให้แพทย์ทำการประเมินเบื้องต้นก่อนทำการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการทำ CT
scan และให้ยา rt-PA เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น และอาจแนะนำใช้ ASTRAL เพื่อประเมิน
ผลลัพธ์ทางคลินิกที่ระยะเวลา 90 วัน หลังจากมีอาการเส้นเลือดสมองตีบเฉียบพลันครั้งนี้ได้
สรุปและข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษานำเสนอทีมนำสูงสุดและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพทางคลินิกสาขาอายุรกกรรม เพื่อ
กำหนดแนวทางในการใช้เครื่องมือ HAT score ประเมินภาวะการเกิดเลือดออกในสมองภายหลังได้รับยา rt-
PA ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพนัสนิคม เนื่องจากให้ค่า
AUC สูงที่สุด และใช้ปัจจัยในการประเมินร่วมน้อยที่สุด สามารถลดเวลาจากเครื่องมือวัดอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วย
ได้รับการประเมิน เฝ้าระวัง และดูแลรักษาอย่างที่รวดเร็ว ปลอดภัย และกำหนดแนวทางในการให้ข้อมูลผู้ป่วย
และญาติก่อนให้การรักษาด้วยยา rt-PA เกิดความรู้ความเข้าใจและมีความพร้อมก่อนการรักษาเนื่องจาก
ข้อจำกัดที่ต้องให้ยาผู้ป่วยได้เร็วและปลอดภัยที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาลทั่วไปที่มี
บริบทใกล้เคียงกันทั้งในระดับจังหวัดและเขตสุขภาพ