Page 620 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 620
Q6
ท่อช่วยหายใจ และจำนวนวันหย่าเครื่องช่วยหายใจ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กำหนดระดับความ
เชื่อมั่นในการทดสอบทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษา พบว่า ด้านผู้ป่วย กลุ่มทดลองเกิด UE น้อย
กว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p <.05 (p =.03) ด้านบุคลากร พยาบาลมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p <.05 (z =-2.33, p =.02) ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการ
พยาบาลฯ อยู่ในระดับมากสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านองค์กร กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีจำนวนวัน
ใส่ท่อช่วยหายใจและมีจำนวนวันหย่าเครื่องช่วยหายใจไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p <.05 (z
=-.005, p =.99; z =-1.04, p =.29) อภิปรายผล กลุ่มทดลองเกิด UE น้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ p <.05 (p =.03) สอดคล้องกับหลายงานวิจัยที่พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการ
พยาบาลฯ ที่พัฒนาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ช่วยลดอุบัติการณ์ UE ได้จริง แต่ในระยะแรกพยาบาลผู้ใช้
แนวปฏิบัติส่วนมาก ไม่สามารถปฏิบัติตามสาระสำคัญของแนวปฏิบัติได้ครบถ้วน ผู้วิจัยมีการนิเทศ กำกับ
ติดตาม และมอบหมายให้หัวหน้าทีมการพยาบาลช่วยดูแล ติดตามให้มีการปฏิบัติอยู่เสมอ ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนน
ความรู้ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกัน UE พบว่า พยาบาลมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกัน UE
เพิ่มขึ้น ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ อยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่า
แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ พยาบาลผู้ใช้เกิดความพึงพอใจและสามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติการพยาบาลได้จริง
ไม่เพิ่มภาระงาน เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย สำหรับจำนวนวันใส่ท่อช่วยหายใจ และจำนวนวันหย่าเครื่องช่วยใจ
ทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างสูงอายุสมรรถภาพการทำงานของปอดลดลง โรคที่เจ็บป่วย
เป็นโรคที่มีพยาธิสภาพที่ปอดโดยตรง ส่งผลต่อการฟื้นหาย
สรุปและข้อเสนอแนะ การพัฒนาและการทดสอบประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ สามารถทำให้
เกิดผลลัพธ์ที่ดีคือ ด้านผู้ป่วย เกิด UE น้อยลง ด้านบุคลากร พยาบาลมีความรู้เพิ่มขึ้น และมีความพึงพอใจต่อ
แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ระดับมาก พยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้
อัตราเกิด UE ลดลงได้ การสร้างความตระหนัก ให้ความรู้แก่บุคลากร วิธีการปฏิบัติ ร่วมกับการนิเทศ กำกับ
ติดตาม ส่งเสริมให้ใช้แนวปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จนเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย ดังนั้น ควรมีการให้
ความรู้และฝึกทักษะทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ
ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และควรศึกษาต่อเนื่องในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ร่วมกับประสานความร่วมมือ
ระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามมาตรฐาน เพิ่มคุณภาพการพยาบาล