Page 639 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 639

Q25

                                 Protocol Care in Stroke Unit ในบริบทโรงพยาบาลโพนทอง

                                             สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด


                                                                 พว.รติกานต์ วรรณสิงห์ และพว.อัญชลี ชีวะประเสริฐ

                                                โรงพยาบาลโพนทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เขตสุขภาพที่ 7
                                                                                               ประเภท วิชาการ



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular Disease, Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นปัญหา

                  สาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุก่อให้เกิด
                  การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร สถิติโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย จากปี พ.ศ. 2549-2563 จำนวน 511,322 ราย
                  สำหรับบริบทของโรงพยาบาลโพนทอง ซึ่งเป็นหน่วยบริการระดับทุติยภูมิระดับกลาง ขนาด 150 เตียง มีประชากร

                  ในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 108,404 ราย เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่เป็นแม่ข่าย โดยรับผู้ป่วยในเขตอำเภอหนองพอก
                  อำเภอเมยวดี อำเภอโพธิ์ชัย จากสถิติย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2565 พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
                  สมองทั้งหมด (I60-I69) มีจำนวน 358, 376 และ 402 ราย ตามลำดับ ซึ่งหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
                  โรงพยาบาลโพนทองเปิดให้บริการทั้งหมด 6 เตียง เป็นหอผู้ป่วยเฉพาะ โดยรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
                  ทั้งหมด (I60-I69) ทั้ง Ischemic Stroke และ Hemorrhagic Stroke มีข้อจำกัดทางทรัพยากรทั้งด้านปริมาณ

                  และคุณภาพ เช่น บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ยาและเวชภัณฑ์ที่จำเพาะในการรักษา ความรู้ความ
                  เข้าใจในการปฏิบัติหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยแต่ละราย และภายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
                  ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดความพิการ เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ ผู้จัดทำจึงเล็งเห็นความสำคัญ

                  ในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้รับการดูแลและเรียนรู้การปฏิบัติตัวตั้งแต่อยู่
                  โรงพยาบาล เพื่อให้ได้รับกระบวนการดูแลที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งในหอผู้ป่วยยังไม่
                  แนวปฏิบัติที่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขึ้นมาเพื่อใช้ในหน่วยงาน
                  คือ Protocol Care in Stroke Unit ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลโพนทอง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล
                  ที่ครอบคลุมมีมาตรฐาน โดยทีมสหวิชาชีพที่เชี่ยวชาญ ได้แก่ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด เภสัชกร

                  นักโภชนาการ ทันตแพทย์ แพทย์แผนไทย พยาบาลฟื้นฟู พยาบาลจิตเวช พยาบาลคลีนิคเลิกบุหรี่/สุรา
                  ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ป่วยและญาติจำเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทราบ
                  วิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ทั้งด้านกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม

                  และวิญญาณ เพื่อลด Mortality, Morbidity, Complication ลดการนอนนาน โดยให้การดูแลตามมาตรฐาน
                  การพยาบาล
                         การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
                  สมอง โรงพยาบาลโพนทอง เป็น Protocol Care in Stroke Unit ในบริบทโรงพยาบาลทุติยภูมิ โดยใช้กรอบ
                  แนวคิดรูปแบบปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (Soukup,

                  2000) ประกอบด้วยกระบวนการในการพัฒนา 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ค้นหาปัญหาทางคลินิก, ระยะที่ 2
                  ทบทวนและสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์, ระยะที่ 3 นํารูปแบบการดูแลไปทดลองใช้และประเมินผลลัพธ์ และ
                  ระยะที่ 4 การนํารูปแบบการดูแลที่ปรับปรุงไปใช้ในหน่วยงาน เพื่อลดอัตราการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด

                  สมองทั้งหมด (I60-I69) ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผลลัพธ์คืออัตราการเสียชีวิต
                  ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด (I60-I69) ไม่เกินร้อยละ 7 ภายใน 30 กันยายน 2566
   634   635   636   637   638   639   640   641   642   643   644