Page 675 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 675
R14
การเก็บข้อมูล
ใช้วิธีเก็บข้อมูลจาก HosXP โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีกระดูก
รอบสะโพกหัก (Fracture intertrochanteric of femur, Fracture neck of femur, Fracture sub trochanteric
of femur) ที่เข้ารับการรักษาตัวด้วยการผ่าตัดในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี
จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 1 มกราคม 2567 หาข้อมูลโดยใช้ ICD 10 ที่วินิจฉัยผู้ป่วย
กระดูกหักรอบสะโพกทั้งหมดที่นอนโรงพยาบาล รวมกับมีการเก็บข้อมูลผู้ป่วยกระดูกหักรอบสะโพกผ่านทาง
ไลน์กลุ่มที่สร้างขึ้นประกอบกัน แล้วนำข้อมูล โดยมีข้อมูลเพศ อายุ ระยะเวลาในการนอนรักษาตัว
ในโรงพยาบาล ภาวะแทรกซ้อนขณะอยู่ในโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาล
มาเก็บเป็นชุดข้อมูลผ่านโปรแกรม Microsoft excel
ผลการศึกษา
การศึกษข้อมูลป่วยจำนวน 101 คน แบ่งเป็นผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง เป็นจำนวน 91 คน เป็นชาย 26 คน
หญิง 65 คน ผ่าตัดหลัง 72 ชั่วโมง จำนวน 10 คน แบ่งเป็นชาย 4 คน หญิง 6 คน อายุเฉลี่ยในกลุ่มผ่าตัดเร็ว
81.38 ปี กลุ่มผ่าตัดหลัง 72 ชั่วโมง อายุเฉลี่ย 85.3 ปี
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล พบว่าในกลุ่มที่ได้รับการรักษาตัวด้วยการผ่าตัด
ใน 72 ชั่วโมง พบภาวะแทรกซ้อน จำนวน 7 คน จาก 91 คน โดยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 3 ราย เส้นเลือด
ในสมองตีบ 1 ราย ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด 1 ราย แผลกดทับ 1 ราย และเสียชีวิตหลังผ่าตัด 1 ราย ส่วนในกลุ่มที่
ได้รับการผ่าตัดหลัง 72 ชั่วโมง พบภาวะแทรกซ้อน 7 คน จาก 10 คน โดยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ 2 ราย
แผลกดทับ 2 ราย เส้นเลือดในสมองตีบขณะผ่าตัด 1 ราย ติดเชื้อในกระแสเลือด 1 ราย และภาวะหายใจ
ล้มเหลวจากโรคหอบหืด 1 ราย เมื่อนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการทดสอบของฟิชเชอร์
(The Fisher exact probability test) พบว่าเมื่อมีการผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผ่าตัด
หลัง 72 ชั่วโมง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p-value<0.001)
ตารางที่ 1 ภาวะแทรกซ้อน (Complication)
การผ่าตัด ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีภาวะแทรกซ้อน p-value
จำนวนคน % จำนวนคน %
ใน 72 ชั่วโมง 84 92.3 7 7.7 <0.001 *
หลัง 72 ชั่วโมง 3 30 7 70
* Fisher’s exact test
ส่วนของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหลัง 72 ชั่วโมง เมื่อนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ทางสถิติการทดสอบของแมนและวิทนีย์
(The Mann-Whitney U Test ) พบว่าเมื่อมีการผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลน้อยกว่า
ผ่าตัดหลัง 72 ชั่วโมง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p-value = 0.002) ส่วนระยะเวลา
ในการนอนโรงพยาบาล พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง มีระยะเวลาในการรักษตัวในโรงพยาบาล
น้อยกว่าผู้ป่วยที่ผ่าตัดหลัง 72 ชั่วโมง เมื่อนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ทางสถิติการทดสอบของแมนและวิทนีย์