Page 673 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 673
R12
เมื่อแรกรับ แนะนำวิธีการรักษาทางเลือกและข้อคู่มือการดูแลตนเอง สามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย มั่นใจ
สามารถนำไปปฏิบัติได้ ร้อยละ 83.3
5. อภิปรายผล จากการศึกษาวิจัย 1) ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักที่รักษา
โดยวิธีการผ่าตัด 2) หลังจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านครบ 1 เดือน ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 100
ภาวะแทรกซ้อน พบแผลกดทับร้อยละ 6.7 จากเดิมร้อยละ 17.1 เสียชีวิตร้อยละ 3.3 จากเดิมร้อยละ 5.7
การเดินหลังจำหน่ายได้โดยใช้อุปกรณ์ร้อยละ 80 3) ความพึงพอใจผู้ป่วยและผู้ดูแล เรื่องให้บริการหลังการผ่าตัด
การบรรเทาความปวดและการทำแผล และข้อความพึงพอใจต่อการฟื้นฟูการเดิน ร้อยละ 86.7 สอดคล้อง
กับการจัดทำคู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่รักษาโดยวิธีการผ่าตัด 4) พยาบาลพอใจ
การกำหนดรูปแบบแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักที่รักษาโดยวิธีการผ่าตัด ร้อยละ 100
จากทุกคนมีส่วนร่วมการกำหนดแนวปฏิบัติการพยาบาลร่วมกัน
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักที่รักษาโดยวิธีการผ่าตัดหอผู้ป่วย
ศัลยกรรมกระดูกและข้อทุกหอผู้ป่วยที่มีผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ และไปขยายผลใช้ในทุกโรงพยาบาลชุมชน
ในเครือข่าย เนื่องจากมีผู้ป่วยบางส่วนถูกส่งตัวกลับเข้าพื้นที่โดยเนื่องจากหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ
โรงพยาบาลเลย จำนวนเตียงมีจำกัด
2. การปฏิบัติตนหลังผ่าดัดในเรื่องการใช้ชีวิต การเดิน และการออกกำลังกายควรมีการสอนแสดงก่อน
จำหน่ายทุกราย
3. ควรนำระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Tele medicine) มาใช้ในการติดตามผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับ
การดูแลต่อเนื่อง