Page 671 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 671

R10


                       พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักที่รักษาโดยวิธีการผ่าตัด
                                       หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเลย



                                                                 นางอัมพรรัตน์ บุตรมาตย์ ,นางสาวกนกพร ธรรมมิยะ

                                                                                  โรงพยาบาลเลย  เขตสุขภาพที่ 8
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         ในสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และการเจ็บป่วยที่มากับสังคม
                  ผู้สูงอายุ คือ โรคกระดูกพรุน ที่ก่อให้เกิดปัญหากระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ (พงศกร บุบผะเรณู, 2564)

                  จากการคาดการณ์ข้อมูลทางสถิติพบว่าประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่กระดูกข้อสะโพกหักเพิ่มขึ้นจากปีละ 180 ราย

                  ต่อ 100,000 ประชากรผู้สูงอายุในจังหวัดเลยมีผู้สูงอายุประมาณ 11,000 คน มีผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก
                  ปี พ.ศ. 2562 – 2564 จำนวน 248 257 และ 228 ราย รับการรักษาโดยไม่ผ่าตัด จำนวน 141 149 และ 158 ราย

                  ตามลำดับ และรับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดมีจำนวน 107 108 ราย และ 70 ราย ตามลำดับ จากข้อมูล

                  ปี พ.ศ.2564 มีภาวะแทรกซ้อนที่พบ คือ ภาวะติดเตียง 13 ราย แผลกดทับ 12 ราย และเสียชีวิต 4 ราย
                  (หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเลย, 2565)


                  วัตถุประสงค์
                         1. เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักที่รักษาโดยวิธีการผ่าตัด

                         2. เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักที่รักษาโดยวิธีการผ่าตัด

                         3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล หลังได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล
                  ผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักที่รักษาโดยวิธีการผ่าตัด


                  วิธีการศึกษา
                         เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ

                  โรงพยาบาลเลย ระยะเวลาระหว่าง เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566 ประชากร คือ ผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุ
                  60 ปีขึ้นไป ได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มมีกระดูกข้อสะโพกหักที่ได้รักษาโดยวิธีการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่าง

                  คือ ผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหักและได้รักษาโดยวิธีการผ่าตัด จำนวน 30 ราย โดยมีเกณฑ์ในการคัด

                  เข้าร่วมวิจัย (Inclusion Criteria) คือ เป็นผู้ป่วยในแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อได้รับการวินิจฉัยกระดูก
                  ข้อสะโพกหัก ได้รักษาโดยวิธีการผ่าตัดตาม Principal diagnosis ดังนี้ 1) Fracture femur neck S72.0

                  (ชนิดเคลื่อนและชนิดไม่เคลื่อน) 2) Fracture Intertrochanter S72.1 (กระดูกฐานสะโพกหัก) และ
                  3) Fracture Subtrochanteric S72.2 (กระดูกฐานคอสะโพกหัก) เกณฑ์ในการคัดออก (Exclusion Criteria)

                  คือ ผู้ป่วยที่สื่อสารภาษาไทยไม่ได้และเกณฑ์การให้ยุติจากการเข้าร่วมวิจัย (Discontinuation criteria)

                  คือ ผู้ป่วยที่ย้ายที่อยู่อาศัยหลังจำหน่าย อาการทรุดลงขณะรักษา และเสียชีวิต
   666   667   668   669   670   671   672   673   674   675   676