Page 674 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 674

R13


                          ประสิทธิภาพของโครงการ Capture the Fracture ในการรักษาผู้ป่วยสูงอายุ

                                      ที่มีปัญหากระดูกรอบสะโพกหักในโรงพยาบาลชุมชน


                                                                                         นายปิยะโชค พรหมสุทธิ์

                                                                โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี
                                                                                   จังหวัดสงขลา เขตสุขภาพที่ 12
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         โรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาสําคัญหนึ่งในผู้สูงอายุไทย ภาวะกระดูกพรุนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม
                  มากขึ้นโดยการหกล้มที่ไม่รุนแรงซึ่งผู้ป่วยกระดูกรอบสะโพกหักจะมีอัตราการเสียชีวิตในปีแรกร้อยละ17

                  และร้อยละ 80 ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม (ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์, 2019) จากการศึกษา

                  ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยสูงอายุที่หกล้มและมีกระดูกหักใน 1 ปี ประมาณร้อยละ
                  12 - 20 มีอัตราการเสียชีวิตประมาณหนึ่งในสามเมื่อมีการติดตามไป 1.5 ปี พบว่ามีอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ

                  2.3 เกิดภาวะพึ่งพิงร้อยละ 40 ไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเองมากถึงร้อยละ 80 และพบว่ามีโอกาสเกิดการหัก

                  กระดูกซ้ำภายหลังหักครั้งแรกภายใน 1 ปี ร้อยละ 2.3 - 2.5 (จิตติมา เอกวิโรจนสกุล, 2562) โดยกระทรวง
                  สาธารณสุขกำหนดให้มีการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยให้มีการจัดตั้งทีม Capture the fracture ในโรงพยาบาล

                  ระดับ M1 เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้ได้รับการผ่าตัดภายใน 72 ชั่วโมง และลดการหักซ้ำในผู้ป่วย

                  กลุ่มนี้ ซึ่งโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เป็นโรงพยาบาลชุมชน ระดับ
                  M2 แต่มีแพทย์ออร์โธปิดิกส์และแพทย์เฉพาะทางด้านต่าง ๆ สามารถดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหากระดูก

                  รอบสะโพกหักได้ จึงได้มีการจัดตั้งทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว
                  ลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหากระดูกหักรอบสะโพกโดยทีมสหวิชาชีพ

                  (Capture the fracture team) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ถึง มกราคม 2667

                  วิธีการศึกษา

                         การวิจัยครั้งนี้ใช้การศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) มีเก็บข้อมูลโดยใช้ข้อมูลจากโปรแกรม
                  HosXP version 4 จากกลุ่มตัวอย่างที่มารักษาตัวในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี

                  จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 1 มกราคม 2567

                  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                         ผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกรอบสะโพกหัก อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์

                  และได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
                  จำนวน 101 คน แบ่งเป็นผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง 91 คน ผ่าตัดหลัง 72 ชั่วโมง 10 คน
   669   670   671   672   673   674   675   676   677   678   679