Page 672 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 672

R11


                  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                         1. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย

                                1.1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป

                                1.2 แบบเก็บข้อมูลการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกระดูก
                  ข้อสะโพกหักที่รักษาโดยวิธีการผ่าตัด ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมการพยาบาลผู้ป่วย

                                1.3 แบบเก็บข้อมูลการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยหลังจำหน่ายกลับบ้าน
                                1.4 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล

                                1.5 แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล

                         2. เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย
                                2.1 แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักที่รักษาโดยวิธีการผ่าตัด

                                2.2 คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่รักษาโดยวิธีการผ่าตัด

                  การวิเคราะห์ข้อมูล

                         ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) พิจารณาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล

                  นำข้อมูลจากแบบบันทึกมาจัดหมวดหมู่ ตรวจสอบความถูกต้องและความเข้าใจในเนื้อหา ตรวจสอบข้อมูล
                  แบบสามเส้า ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์และนำเสนอด้วยความถี่ และร้อยละ


                  ผลการศึกษา
                         1. ด้านผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง 30 ราย เพศหญิง ร้อยละ 66.67 เพศชาย ร้อยละ 33.33 อายุระหว่าง

                  71 - 80 ปี ร้อยละ 53.33 อายุ 81 – 90 ปี ร้อยละ 33.33 ร้อยละ 83.33 ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีโรคประจำตัว
                  เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 53.33 เบาหวาน ร้อยละ 26.67 ได้รับการวินิจฉัยเป็น Intertrochanteric fracture

                  ร้อยละ 73.33 และ Femoral neck fracture ร้อยละ 26.67 ตำแหน่งขาข้างที่หักเป็นข้างซ้าย ร้อยละ 53.33

                  และขาขวา ร้อยละ 46.67 ผ่าตัดชนิด PFNA ร้อยละ 53.33 การผ่าตัด DHS ร้อยละ 26.67 ผ่าในเวลามากกว่า
                  72 ชั่วโมง ร้อยละ 43.33

                         2. พยาบาลการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักที่รักษา
                  โดยวิธีการผ่าตัด การประเมินความพร้อมก่อนผ่าตัด ร้อยละ 100 การประเมินและให้ความรู้ผู้ป่วย/ผู้ดูแลก่อนผ่าตัด

                  ปฏิบัติได้สูงสุดในการประเมินสัญญาณชีพ ประเมินความปวด ร้อยละ 100 การประเมินและติดตามผู้ป่วยหลังผ่าตัด

                  ทุกข้อปฏิบัติร้อยละ 100 การ Ambulation และการฝึกเดินปฏิบัติ ร้อยละ 93.3 การทบทวนข้อมูลการปฏิบัติ
                  ตัวหลังจำหน่ายปฏิบัติ ร้อยละ 93.3 และการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยผ่านโปรแกรม Thai COC ร้อยละ 100

                         3. การติดตามเยี่ยมผู้ป่วยหลังจำหน่ายกลับบ้าน จำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านครบ 1 เดือน ผู้ป่วยได้รับ

                  การติดตามเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 100 ได้รับการประเมินการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 100 ไม่พบภาวะแทรกซ้อน
                  ร้อยละ 76.7 พบแผลกดทับ ร้อยละ 6.7 การเดินหลังจำหน่ายได้โดยใช้อุปกรณ์ ร้อยละ 80.0 และได้รับ

                  การติดตามครบ 6 เดือน ร้อยละ 73.3

                         4. ความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล มีความพึงพอใจมาก มากที่สุด ในข้อการให้บริการหลังการผ่าตัด
                  การบรรเทาความปวดและการทำแผล และข้อความพึงพอใจต่อการฟื้นฟูการเดิน ร้อยละ 86.7 การให้ข้อมูลโรค
   667   668   669   670   671   672   673   674   675   676   677