Page 676 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 676

R15


                  (The Mann-Whitney U Test) พบว่าเมื่อมีการผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง มีระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล

                  น้อยกว่าผ่าตัดหลัง 72 ชั่วโมง แตกต่างกันอย่างมีนัยยะทางสถิติ (p-value < 0.001)

                  ตารางที่ 2 ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล

                                                     จำนวน           x ̅          SD          Z     p-value

                               ค่าใช้จ่าย
                             ใน 72 ชั่วโมง             91       59,787.32      17,567.33    3.161  0.002*

                            หลัง 72 ชั่วโมง            10       75,124.40      13,995.66

                   ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล

                             ใน 72 ชั่วโมง             91          7.25          4.97       4.027  <0.001*
                            หลัง 72 ชั่วโมง            10         11.90          3.38


                  อภิปรายผล
                   * The Mann-Whitney U Test
                         การรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหากระดูกรอบสะโพกหักด้วยวิธีการผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง ในโรงพยาบาล

                  สมเด็จฯ นาทวี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ (M2) พบว่าช่วยลดภาวะแทรกซ้อนอย่างชัดเจน
                  เมื่อเปรียบเทียบทั้งในกลุ่มผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง มีภาวะแทรกซ้อนเพียงร้อยละ 7.7 กับกลุ่มผ่าตัดหลัง 72 ชั่วโมง

                  มีภาวะแทรกซ้อนสูงถึงร้อยละ 70 ส่วนระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลกลุ่มที่ผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง

                  ใช้ระยะเวลานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ย 7.25 วัน น้อยกว่ากลุ่มผ่าตัดหลัง 72 ชั่วโมง 11.90 วัน
                  และค่าใช้จ่ายในการักษาตัวในโรงพยาบาลกลุ่มที่ผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 59,787.32 บาท

                  น้อยกว่ากลุ่มผ่าตัดหลัง 72 ชั่วโมง 75,124.32 บาท ซึ่งโรงพยาบาลสมเด็จฯ นาทวี เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่มี
                  แพทย์ออร์โธปิดิกส์และทีมสหวิชาชีพในการรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักและมีแนวทางในการรักษาทั้งผ่าตัด

                  และไม่ผ่าตัด มีความพร้อมของทีมผ่าตัดและอุปกรณ์ผ่าตัดมีการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด

                  หลังผ่าตัด การฟื้นฟูกล้ามเนื้อ การป้องกันการล้มซ้ำ ตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลทำให้สามารถ
                  ผ่าตัดผู้ป่วยใน 72 ชั่วโมง เป็นสัดส่วนที่สูงส่งผลให้ลดภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล

                  และค่าใช้จ่ายลดลงอย่างมีนัยยะทางสถิติ

                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         การรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหากระดูกรอบสะโพกหักด้วยวิธีการผ่าตัดใน 72 ชั่วโมง ซึ่งมีการผ่าตัดเร็ว

                  สามารถลดอัตราการเสียชีวิตภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการรักษา
                  ในโรงพยาบาล ถ้ามีแนวทางการดูแลและติดตามผู้ป่วยหลังผ่าตัดอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการป้องกันการหักซ้ำ

                  การได้รับยาที่เหมาะสม การดูแลสิ่งแวดล้อมที่บ้านเพื่อให้มีการฟื้นฟูผู้ป่วยให้กลับมาเคลื่อนไหวได้ปกติ

                  จะทำให้ผู้ป่วยสูงอายุกระดูกหักรอบสะโพกหลังผ่าตัดมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น
   671   672   673   674   675   676   677   678   679   680   681