Page 695 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 695

S18

                               การสร้างและการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ

                                   เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
                  (Development of a Medical Cannabis Health Education Program for Chao Phraya Yommarat Hospital)



                                                                    กรพินทุ์ ปานวิเชียร พย.,วท.ม. รพ.เจ้าพระยายมราช
                                                                          ทิวา มหาพรหม, พย.ม.,ค.ม. วพ.บ.เชียงใหม่

                                                                                                  เขตสุขภาพที่ 5

                                                                                               ประเภทวิชาการ


                 ความสำคัญของปัญหา
                         ปัจจุบันกัญชามีบทบาทสำคัญในวงการแพทย์ แต่ผู้รับบริการจำนวนมากยังขาดความรอบรู้เกี่ยวกับ

                  กัญชาทางการแพทย์ อาจนำไปสู่ความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ จำเป็นต้องมีโปรแกรม

                  เสริมสร้างความรอบรู้ที่มีเนื้อหาและมีสื่อที่ดีมีคุณค่าพัฒนาให้เหมาะสมกับความต้องการและบริบทเฉพาะ
                  ของผู้รับบริการ เป็นเครื่องมือในการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคปัจจุบัน

                  ช่วยให้ผู้รับบริการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด ปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง และสร้างความมั่นใจ
                  ในการใช้ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากกัญชาทางการแพทย์ จนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง

                         อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของโปรแกรมเสริมสร้างความรู้ยังมีจำกัด ข้อมูลเกี่ยวกับ

                  รูปแบบโปรแกรมที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใช้กัญชาประเภทต่างๆ ยังไม่เพียงพอ และยังขาดการติดตามผลระยะยาว
                  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษามากขึ้น เพื่อพัฒนาโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้รับบริการ


                  วัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อสร้างและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับกัญชาทาง
                  การแพทย์ของผู้รับบริการกัญชาทางการแพทย์


                  วิธีการศึกษา
                  รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการศึกษาตามแนวคิดของ Sorensen และคณะ (2012)

                  4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูลและความเข้าใจกัญชาทางการแพทย์ 2) ความรอบรู้ใน

                  การสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องและการรู้เท่าทันสื่อ 3) ความรอบรู้ในการตัดสินใจใช้ยากัญชาทางการแพทย์ และ
                  4) การปฏิบัติในการจัดการตนเอง ร่วมกับการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ

                  โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ทั้งหมด 72 เรื่อง เอกสารภาษาไทย 46 เรื่อง ภาษาอังกฤษ 26 เรื่อง โดยมี
                  แนวทางสร้างและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ แบ่งเป็น 3 วงรอบดังนี้

                             วงรอบ 1: การวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม สื่อ (เมษายน - ธันวาคม 2565)

                  ขั้นตอนที่ 1 : เจาะลึกความต้องการและผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย 10 ราย/ระดมความคิดเห็น
                  จากผู้ให้บริการ ในคลินิกกัญชา/รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

                  ขั้นตอนที่ 2 : การวิจัยและสร้างโปรแกรม แนวทางปฏิบัติ คู่มือการใช้ และแบบประเมินคุณภาพ (ฉบับร่าง)
                  ขั้นตอนที่ 3 : การประเมินคุณภาพโปรแกรมทดสอบคุณภาพโปรแกรม/ปรับปรุงโปรแกรมให้เหมาะสม

                  (มกราคม-กุมภาพันธ์2566)
   690   691   692   693   694   695   696   697   698   699   700