Page 696 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 696

S19

                  ขั้นตอนที่ 4 : การทดลองใช้และประกาศใช้โปรแกรมประชุมชี้แจงกับทีมปฏิบัติงาน/ทดลองใช้โปรแกรม 3 ครั้ง

                         วงรอบ 2: การพัฒนาและทดสอบโปรแกรม (มกราคม - เมษายน 2566)
                  ขั้นตอนที่ 1 : การพัฒนาโปรแกรม ปรับแต่งเนื้อหา เลือกสื่อ และวิธีการสอนที่เหมาะสมพัฒนาวิธีการ

                  ประเมินผล

                  ขั้นตอนที่ 2 : การทดสอบโปรแกรมนำร่องกับกลุ่มขนาดเล็ก ขั้นตอนที่ 3: การประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลจาก
                  การทดสอบ/ระบุจุดที่ต้องปรับปรุง ขั้นตอนที่ 4: การปรับแต่งโปรแกรมตามผลการประเมินทำให้โปรแกรม

                  เป็นมาตรฐานเผยแพร่และดำเนินการ

                         วงรอบ 3 : การวิจัยและประเมินผล (เมษายน - พฤศจิกายน 2566)
                  ขั้นตอนที่ 1 : การพัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัย/ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมต่อผู้ใช้บริการ

                  ขั้นตอนที่ 2 : การทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรม
                  ขั้นตอนที่ 3 : การประเมินผลการดำเนินงาน ประเมินผลลัพธ์ของโปรแกรม

                  ขั้นตอนที่ 4 : การเผยแพร่ผลการศึกษาและติดตามผลระยะยาว

                  การกำหนดตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 5 ท่าน ได้แก่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ 2 ท่าน
                  เภสัชกร 1 ท่าน  พยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับกัญชาทางการแพทย์(care manager: CM) 1 ท่าน

                  และผู้เชี่ยวชาญด้านการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ 1 ท่าน

                  เครื่องมือที่ใช้ พัฒนาขึ้นจากแนวคิดของ Sorensen และคณะ (2012) มากำหนดองค์ประกอบ ได้แก่

                  1) โปรแกรมฯ ประกอบด้วย แนวปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้างความรอบรู้ฯระยะ 2 สัปดาห์ ดังนี้
                  สัปดาห์ที่ 1 ระยะเวลา 60 นาที :ให้ผู้รับบริการตอบแบบสอบถาม ความรอบรู้ฯ (รอบที่ 1) สร้างสัมพันธภาพ

                  ระหว่างผู้ให้บริการ(แพทย์แผนปัจจุบัน/แพทย์แผนไทย/พยาบาล/เภสัชกร)กับผู้รับบริการ สื่อคือ วิดีโอ

                  โปสเตอร์
                  ผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ 1)ผลการตอบแบบสอบถามความรอบรู้ฯถูกต้อง 2) หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯมีคะแนน

                  ความรอบรู้ฯ ที่ถูกต้องในระดับดี 3) ผู้รับบริการมีทักษะการตัดสินใจที่ถูกต้องต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์

                  สัปดาห์ที่ 2 ระยะเวลา 60 นาที:กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรอบรู้ผ่านประสบการณ์ตรงของผู้รับบริการ
                  โดยการเล่า การประเมินผลโปรแกรม ให้ผู้รับบริการตอบแบบสอบถาม ความรอบรู้ฯ (รอบที่ 2)

                  ผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯมีการปฏิบัติในการจัดการตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม
                  2) คู่มือการใช้โปรแกรมฯ  3) แบบประเมินคุณภาพของโปรแกรมฯผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของตามเกณฑ์

                  การประเมินที่คณะกรรมการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการประเมินทางการศึกษากำหนด,2023 มีลักษณะ

                  เป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 23 ข้อโดยตัดด้านความรับผิดชอบด้านการประเมินออก ข้อคำถาม
                  เกี่ยวกับ ความเป็นประโยชน์ 7 ข้อ ความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ  6 ข้อ ความเหมาะสมและสอดคล้องกับ

                  สถานการณ์การใช้บริการกัญชาทางการแพทย์  6 ข้อ และความถูกต้องตามหลักวิชาการ 4 ข้อ การเลือก
                  คำตอบ 1= ไม่ทราบ/ไม่ใช่ 2= ค่อนข้างไม่ใช่ 3= ไม่แน่ใจ 4= ค่อนข้างใช่ 5= ใช่มากที่สุด การแปลผลการให้

                  คะแนนแบ่งเป็น 3 ระดับ คือคะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.66  มีคุณภาพ ระดับต่ำ คะแนนเฉลี่ย 1.67 - 3.33

                  มีคุณภาพ ระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 3.34 - 5.00 มีคุณภาพ ระดับสูง 4) วีดีโอการเสริมสร้างความรอบรู้ฯ
                  ผู้ให้บริการ คือ CM อธิบายถึงช่องทางการรับ วิธีการรับและสื่อสารข้อมูลการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่ถูกต้อง
   691   692   693   694   695   696   697   698   699   700   701