Page 698 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 698

S21

                       การศึกษาความปลอดภัยในผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลอุดรธานี


                                                                                          สุทธาพร วงศ์กาฬสินธุ์

                                                                               โรงพยาบาลอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         เมื่อ พ.ศ. 2562 มีประกาศพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่ 7) กำหนด ให้กัญชาเป็นยาเสพติด

                  ประเภท 5 ที่สามารถใช้ในทางการแพทย์ได้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2565 มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้

                  ทุกส่วนของกัญชาหรือกัญชงไม่ถือเป็นยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดกัญชาที่มี THC มากกว่าร้อยละ 0.2
                  โดยน้ำหนัก ทำให้เกิดกระแสสังคมต่างๆมากมาย ทั้งผู้คนที่ต่อต้านและผู้คนที่ให้ความสนใจในกัญชา โดยมุ่งหวัง

                  ในการใช้เพื่อประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการรักษาโรค หรืออาการที่เป็นอยู่, ด้านการนำมาส่งเสริมธุรกิจ
                  ไม่ว่าจะเป็นการนำมาประกอบอาหาร หรือเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง รวมไปถึงการใช้ด้านสันทนาการ

                  โดยกัญชาเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่มีการใช้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่โบราณนานมา ทำให้ผู้คนบางกลุ่ม

                  มีความคุ้นเคยในการใช้อยู่บ้าง และด้วยกระแสสังคมที่กำลังนิยม แต่การประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านผลเสีย
                  ของกัญชายังไม่มากพอ ทำให้ผู้คนบางกลุ่มขาดความตระหนัก ในการนำมาใช้ ส่งผลให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

                         ซึ่งโรงพยาบาลอุดรธานี เป็นโรงพยาบาลนำร่อง คลินิกกัญชาทางการแพทย์ (ผสมผสานแพทย์
                  แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย) เพื่อรองรับความต้องการในการปรึกษาและใช้ยากัญชาที่มากขึ้น จึงเปิด

                  ให้บริการควบคู่กับคลินิกแพทย์แผนไทยคู่ขนานในทุกวันทำการ โดยผู้เข้ารับบริการทุกคนจะได้รับการตรวจ

                  คัดกรองเบื้องต้น และต้องมีผลเลือดทางห้องปฏิบัติการ(หรือย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือน) ของค่าการทำงาน
                  ของตับ(AST, ALT) และค่าการทำงานของไต(GFR, BUN, Creatinine) อยู่ในการปกติ ก่อนการรับยากัญชา

                  ทางการแพทย์ทุกราย และมีระบบการติดตามหลังได้รับยากัญชาทางการแพทย์ แต่ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติ

                  ในการติดตามค่าการทำงานของตับ – ไต หลังการใช้ยากัญชาทางการแพทย์
                         ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงค่าการทำงานของตับและไตหลังการ

                  ใช้ยากัญชาทางการแพทย์แผนไทยที่มีการใช้ในโรงพยาบาลอุดรธานี

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         2.1 เพื่อศึกษาระดับการเปลี่ยนแปลงค่าการทำงานของตับและไตหลังได้รับยากัญชาทางการ แพทย์แผนไทย

                         2.2 เพื่อศึกษาความปลอดภัยในผู้ใช้ยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย

                  วิธีการศึกษา

                         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาย้อนหลัง โดยการสืบค้นจากเวชระเบียนย้อนหลังในระหว่าง วันที่
                  22 สิงหาคม 2562 – 30 กันยายน 2565

                         กำหนดเกณฑ์คัดเข้า (Inclusion criteria) คือ ผู้รับบริการที่ได้รับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย
                  และเข้ารับการติดตามอาการที่คลินิกตามการนัดหมาย และกำหนดเกณฑ์คัดออก (Exclusion criteria) คือ
   693   694   695   696   697   698   699   700   701   702   703