Page 699 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 699

S22

                  ผู้ป่วยที่มีการใช้กัญชาทางการแพทย์น้อยกว่า 3 เดือน และผู้ป่วยที่ไม่มีผลค่าการทำงานของตับและไต

                  หลังการได้รับกัญชาทางการแพทย์
                         เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกรวบรวมข้อมูล(ประกอบไปด้วยข้อมูลทั่วไป และข้อมูลทาง

                  ห้องปฏิบัติการค่าการทำงานของตับ-ไต) และเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย คือ ตำรับยากัญชาทางการแพทย์

                  แผนไทย 5 ตำรับ(ยาแก้ลมแก้เส้น, ยาทำลายพระสุเมรุ, ยากัญชาขมิ้นทอง, น้ำมันกัญชาอ.เดชา, และยาศุขไสยาศน์)
                         สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา(จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน

                  มาตรฐาน) และสถิติอนุมาน(Paired t-test)

                  ผลการศึกษา

                         ผลการสืบค้นจากเวชระเบียบย้อนหลัง ผู้เข้ารับบริการที่ได้รับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย
                  ในระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม 2563 – 30 กันยายน 2565 มีทั้งหมด 216 คน มีการคัดตามเกณฑ์คัดออก

                  ทั้งหมด 136 คน(ผู้ป่วยที่มีการใช้กัญชาทางการแพทย์น้อยกว่า 3 เดือน จำนวน 101 คน และไม่มีผล

                  การทำงานของค่าตับ-ไตหลังการใช้ยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย จำนวน 34 คน) สรุปมีผู้ได้รับการคัดเลือก
                  เข้าศึกษาตามเกณฑ์ทั้งหมด 80 คน

                         ข้อมูลทั่วไปพบว่า ผู้รับบริการที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 52, ค่าเฉลี่ยอายุเท่ากับ
                  58.4 ± 1.39 ปี, ผู้รับบริการที่ศึกษาส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 95, ผู้รับบริการที่ศึกษาไม่มีโรคประจำตัว

                  ร้อยละ 58, ตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทยที่มีการจ่ายให้ผู้มารับบริการมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่

                  ยาศุขไสยาศน์ ร้อยละ 46, น้ำมันกัญชา อ.เดชา ร้อยละ 29, ยากัญชาขมิ้นทอง ร้อยละ 11, ยาแก้ลมแก้เส้น
                  ร้อยละ 8 และยาทำลายพระสุเมรุ ร้อยละ 6














                         กราฟแสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลทางห้องปฏิบัติการค่าการทำงานของไต(GFR, BUN,
                  Creatinine) ก่อน-หลังการใช้ยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย พบว่ายากัญชาทางการแพทย์แผนไทยทั้ง 5

                  ตำรับไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)
   694   695   696   697   698   699   700   701   702   703   704