Page 697 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 697
S20
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่ 1 สร้างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาทักษะ
การปฏิบัติด้านความรอบรู้ในการใช้ ขั้นตอนที่ 3 การแสดงถึงความรอบรู้ ขั้นตอนที่ 4 ผู้ให้บริการและ
ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปฏิบัติงานคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ร่วมกันผลิตข้อมูลสื่อสาร
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ : การประเมินคุณภาพของโปรแกรมฯโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. มีแนวทางสร้างและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ ตามแนวคิด
ของ Sorensen และคณะ (2012) 4 องค์ประกอบ มีการปฏิบัติตามวงจร PDCA 3 วงรอบ ดังนี้
วงรอบที่1 การวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม สื่อ (เมษายน -ธันวาคม 2565) วงรอบ 2 การพัฒนาและ
ทดสอบโปรแกรม (มีนาคม -เมษายน 2566) วงรอบ3 การวิจัยและประเมินผล (เมษายน - พฤศจิกายน 2566)
2. ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินคุณภาพของโปรแกรมฯ อยู่ในระดับสูง ดังนี้ ค่าเฉลี่ย
โดยรวม เท่ากับ 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.13 ความตรงตามเนื้อหา โดยกลุ่มเป้าหมาย 5 ท่าน
คำนวณค่าดัชนีความตรงได้เท่ากับ 0.84 -1.00 ความเที่ยงตรงภายใน (Cronbach's alpha) ของข้อคำถาม
ทั้งหมดอยู่ที่ 0.94 ของแต่ละด้าน 1) ด้านความเป็นประโยชน์ 2) ความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ
3) ความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์การใช้บริการกัญชาทางการแพทย์ และ 4) ความถูกต้องตาม
หลักวิชาการ อยู่ที่ 0.94 0.91 0.90 และ 0.90 ตามลำดับ
อภิปรายผล จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าแนวทางการสร้างและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับกัญชา
ทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ Sorensen และคณะ (2012) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ และ
ดำเนินการตามวงจร PDCA 3 วงรอบ นั้น มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้รับบริการกัญชาทางการแพทย์ ผล
การประเมินคุณภาพโปรแกรมฯ ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน อยู่ในระดับสูง แสดงให้เห็นว่า
โปรแกรมฯ มีความเป็นประโยชน์ ผู้รับบริการสามารถนำไปปฏิบัติได้ เหมาะสมกับสถานการณ์การใช้บริการ
กัญชาทางการแพทย์ และมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ
สรุป โปรแกรมเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ
ครอบคลุมทุกมิติที่เกี่ยวข้อง โปรแกรมฯ ผ่านการพัฒนาและทดสอบอย่างเป็นระบบ ผลการประเมินคุณภาพ
โปรแกรมฯ อยู่ในระดับสูงโปรแกรมนี้สามารถนำไปใช้เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ให้กับ
ผู้รับบริการ ช่วยให้ผู้รับบริการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ตัดสินใจใช้กัญชาทางการแพทย์ได้อย่างชาญฉลาด
ปลอดภัย และได้รับประโยชน์สูงสุด
ข้อเสนอแนะ 1.ควรติดตามผลการใช้โปรแกรมฯอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินประสิทธิภาพและปรับปรุงพัฒนา
ให้ดียิ่งขึ้น 2.ควรศึกษาพัฒนาต่อยอดวิจัยประสิทธิผลของโปรแกรมฯ ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้กัญชาประเภท
ต่างๆ และการศึกษาควรพิจารณาถึงวิธีการที่เหมาะสมในการนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในเครือข่ายชุมชน