Page 71 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 71

B1


                    ระบบเครือข่ายการคัดกรองและติดตามโรคมะเร็งลำไส้จังหวัดเชียงราย (FITCHIANGRAI)


                                                                                     นายแพทย์อมร สรรคอนุรักษ์
                                                                 โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เขตสุขภาพที่ 1

                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         มะเร็งลำไส้เป็นมะเร็งที่พบได้สูงสุดเป็น 3 อันดับแรกในประเทศไทย การป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้
                  สามารถทำได้โดยการตรวจคัดกรองเม็ดเลือดแฝงในอุจจาระ แล้วจึงทำการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในผู้ที่มีผลคัด
                  กรองเม็ดเลือดแฝงในอุจจาระเป็นบวก โดยมีเป้าหมายให้สามารถตรวจพบและตัดติ่งเนื้องอกลำไส้และมะเร็ง
                  ลำไส้ระยะเริ่มต้นได้ทันก่อนที่จะเป็นมะเร็งระยะลุกลาม แต่การคัดกรองนั้นมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การตรวจเม็ด

                  เลือดแฝงในอุจจาระ การเจาะเลือดและเอกซเรย์เตรียมตัวก่อนส่องกล้อง การเตรียมลำไส้ให้ใสสะอาดก่อนส่อง
                  กล้อง การส่องกล้องลำไส้ใหญ่และการติดตามผลการส่องกล้อง ทำให้เกิดปัญหากับผู้ป่วยได้แก่ การเสีย
                  ค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางมายังโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลสมทบที่ให้บริการส่องกล้องหลายครั้ง

                  ขาดการให้ความรู้หรือการติดตามผู้ป่วยหลังได้รับการคัดกรองมะเร็งอย่างต่อเนื่อง และยังส่งผลถึงภาระงาน
                  ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการคัดกรองอีกด้วย ดังนั้นศูนย์ส่องกล้องโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
                  จึงจัดทำระบบเครือข่ายการลงบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับคัดกรอง การแจ้งวันนัดหมายการเตรียมลำไส้และวัน
                  ส่องกล้อง ผลการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และระยะเวลาที่เหมาะสมในการติดตามคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่าน
                  ระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อศักยภาพในการคัดกรองมะเร็งลำไส้ของจังหวัดเชียงรายต่อไป


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. สร้างระบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการรักษา ติดตาม และคัดกรองมะเร็งลำไส้อย่างมี
                  ประสิทธิภาพ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองมะเร็งลำไส้ที่
                  เหมาะสมต่อไป
                         2. ลดภาระของผู้ป่วยในการเดินทางและเสริมความเข้าใจในการเตรียมลำไส้และคัดกรองมะเร็งลำไส้

                  อย่างละเอียดและถูกต้อง
                         3. สร้างเครือข่ายการคัดกรองมะเร็งลำไส้ร่วมกันในจังหวัดเชียงราย

                  วิธีการศึกษา (ขออนุญาตนำเสนอเป็นแผนผังการดำเนินโครงการพร้อมแสดงผลลัพธ์)
                             จัดประชุมวางแผนการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงทุก 6 เดือน ร่วมกับ สสจ.

                               วางแผนอุปกรณ์ เครื่องมือ จำนวนผู้ป่วยต่อปี และทบทวนปัญหาอย่างต่อเนื่อง



                           อุปกรณ์ไม่เพียงพอ                                  วางแผนจ านวนผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
                      ไม่ได้รับการคัดกรองตามเป้าหมาย                         สามารถลดอัตราการรอคอยการส่องกล้อง
                         ไม่สามารถส่องกล้องได้ทัน                                ลดภาระงานศูนย์ส่องกล้อง
                                                  ทำการคัดกรองมะเร็งลำไส้
                                ด้วยการตรวจเม็ดเลือดแฝงในอุจจาระผ่านระบบสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

                                         ร้อยละ10 ของประชากรเป้าหมายอายุ 50-75 ปี ต่อปี
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76