Page 69 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 69
A30
พยาบาลและติดตามได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งสามารถรายงานแพทย์ได้ให้การรักษาอย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะ
กลุ่มที่มีค่าคะแนน MEWS สูง > 6 คะแนน ซึ่งถ้าได้รับการแก้ไขและดูแลทันจะสามารถลดอัตราตาย
และภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของแสงโสม ช่วยช่วงในเรื่อง ผลของการใช้แนวทาง
การประเมินสัญญาณเตือนการเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS) ในการประเมินและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง
ผู้ป่วยในห้องตรวจสวนหัวใจ โรงพยาบาลตรังปี 2561
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. ควรใช้ MEWS+EKG ในการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินในแผนกอุบัติเหตุ
และฉุกเฉินและควรจัดทำคู่มือการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงและสัญญาณเตือนของผู้ป่วยในรายโรค
ส่วนของการดูแลผู้ป่วย ACS
2. ควรใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้การรักษาเบื้องต้นในการส่งผู้ป่วยในช่องทางด่วน ACS
3. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาในการพัฒนารูปแบบการนำไปใช้ จริงทั้งโรงพยาบาล
เนื่องจากมีข้อจำกัดในการนำรูปแบบเดิมมาใช้ในบาง parameter
เอกสารอ้างอิง
1. กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ.
2. งานเวชระเบียนและสถิติ. (2566). สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลอุทุมพรพิลัย ประจำปี 2564-2565.
3. แสงโสม ช่วยช่วง. (2561). ผลของการใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนการเข้าสู่ภาวะวิกฤต
(MEWS) ในการประเมินและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยในห้องตรวจสวนหัวใจ โรงพยาบาลตรัง.
วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก , 29(1).72-83.