Page 74 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 74
B4
การยกระดับการรักษาพยาบาลด้านการให้ยาเคมีบำบัด
ในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
สมเพ็ง โชคเฉลิมวงศ์, ณัฐวุฒิ สุดแก้ว และคณะกรรมการ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร / โรงพยาบาลกำแพงเพชร / โรงพยาบาลชุมชน
เขตสุขภาพที่ 3
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ปัจจุบันแนวทางการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ด้วยยาเคมีบำบัด เป็นแนวทางการรักษาอย่างหนี่ง
นอกเหนือจากการผ่าตัดและรังสีรักษา มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรค หรือทำให้โรคสงบลง เพิ่ม
อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามหน่วยบริการที่สามารถให้ยาเคมีบำบัดได้นั้น ส่วนใหญ่อยู่ใน
โรงพยาบาลระดับจังหวัด หรือสูงกว่า ผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาไม่ไกลและมีความพร้อมสามารถที่จะเดินทางมารับ
บริการได้ อย่างไรก็ตามยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มที่มีข้อจำกัดต่างๆในการมาเข้ารับบริการ เช่น ระยะทางไกล รายได้ไม่
เพียงพอ ขาดผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ขาดการรักษา หรือเข้ารับการ
รักษาไม่ต่อเนื่อง
จังหวัดกำแพงเพชร มีนโยบาลและแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด
ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการบริการได้โดยง่าย รวดเร็ว ฉับไว ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ลดภาระการดูแลของผู้ดูแล ในทุก
พื้นที่ของจังหวัด จากการวิเคราะห์สภาพทางภูมิศาสตร์ พบว่า ยังมีอำเภอต่างๆ เช่น อำเภอขาณุวรลักษณบุรี
ที่มีระยะทางห่างไกลจากโรงพยาบาลกำแพงเพชร ซึ่งเป็นหน่วยบริการในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เป็น
ระยะทาง 80-100 กิโลเมตร อำเภอคลองขลุง อำเภอปางศิลาทอง มีระยะทาง 60-80 กิโลเมตร
จากสถานการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการ Service plan สาขาโรคมะเร็ง จังหวัดกำแพงเพชร จึงได้มีการ
พัฒนารูปแบบการให้ยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้าถึงบริการได้อย่าง
รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ญาติ/ผู้ดูแลสามารถดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถลดความแออัดของ
การให้บริการในหน่วยเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลกำแพงเพชรได้
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษา 1. สภาพสถานการณ์ และสภาพปัญหาของการได้รับยาเคมีบำบัด 2. พัฒนารูปแบบการให้
ยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลชุมชน 3. ประเมินผลการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลชุมชน
วิธีการศึกษา
การศึกษานี้ใช้การประยุกต์รูปแบบการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Action Research) PAOR
แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1.วิเคราะห์สถานการณ์ของปัญหา 2.พัฒนารูปแบบการดูแล 3.ทดลองการใช้รูปแบบ
และ 4.ประเมินผล กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ต้องได้รับยาเคมี
บำบัด ผู้ดูแลผู้ป่วยประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวม 20 คน ระยะเวลาศึกษา ตั้งแต่
14 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2567 ระยะเวลา 12 เดือน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่
แบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลการศึกษา
1. ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า การเดินทางมารับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในแต่ละ
อำเภอ มีระยะทางการในการเดินทางไม่เท่ากัน ห่างจากโรงพยาบาลกำแพงเพชร ตั้งแต่ 20 กิโลเมตร จนถึง