Page 66 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 66

A27

                  ปี 56-70 ปี และ71 ปีขึ้นไป) กับปัจจัยต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ไม่แตกต่างกันอย่างมี
                  นัยสำคัญทางสถิติ (p=0.183) โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ไม่แตกต่างกันอย่างมี
                  นัยสำคัญทางสถิติ (p=0.865) โดยพบว่ากลุ่มที่สูงอายุมากกว่า 71 ปีและมีโรคประจำตัวมากกว่า 2 โรค
                  มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001)


                         ตารางที่ 1 แสดงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อเกิดโรคหลอดเลือดหลังติดเชื้อโควิด 19
                   ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหลอดเลือด  Odd Ratio  95%Confidence Interval   p-value

                           หลังติดเชื้อโควิด 19 (N=95)
                  - การมีอายุมากกว่า71ปีขึ้นไปต่อโรคหลอดเลือด   -1.33   -0.2311251 - 0.0457944     0.187 b
                    หัวใจและสมอง
                  - การมีอายุมากกว่า71ปีขึ้นไปต่อการมีโรค      4.72     0.2618694  -0.6420099            b
                    ประจำตัวมากกว่า2โรคขึ้นไป                                                      0.001
                                                                                   c
                                    a
                                                       b
                         หมายเหตุ     Kruskal willis test,   Multiple logistic regression,   Chi-square test
                  อภิปรายผล
                         จากการศึกษาในด้านปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหลังติดเชื้อโควิด 19 พบว่า
                  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์สูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง คือ อายุมากกว่า 71  ปี การมีโรค

                  ไม่ติดต่อเรื้อรังมากกว่า 2 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดยใช้การวิเคราะห์
                  Multiple Logistic Regression สำหรับ เพศ ของผู้ป่วยกับการเกิดโรคหัวใจและสมอง ไม่แตกต่างกันอย่างมี
                  นัยสำคัญทางสถิติ (p=0.679) ในด้านระดับอายุ (น้อยกว่า 55 ปี 56-70 ปี และ71 ปีขึ้นไป) กับปัจจัย
                  ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.183) โรคไม่ติดต่อ
                  เรื้อรังต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.865) โดยพบว่า
                  กลุ่มที่สูงอายุมากกว่า 71 ปีและมีโรคประจำตัวมากกว่า 2 โรค มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองมีความ
                  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.001)  โดยใช้สถิติ Kruskal Willis test

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหลังติดเชื้อโควิด 19
                  พบว่า กลุ่มคนไข้ที่มีอายุมากกว่า 71 ปี มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากกว่า 2 ชนิด (p-value<0.001)  มีความ
                  จำเป็นต้องติดตามเฝ้าระวังการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอย่างน้อย  189 วัน อย่างไรก็ตาม การศึกษา
                  ในครั้งนี้ควรติดตามข้อมูลด้านจำนวน และชนิดของวัคซีนที่อาจส่งผลต่ออุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือด

                  สมองและหัวใจเพิ่มเติม และการศึกษาครั้งทำการศึกษาในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก การนำผลการศึกษาไป
                  อ้างอิงหรือการวิจัยต่อควรทำด้วยความระมัดระวัง
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71