Page 67 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 67
A28
ผลการใช้ Modified Early Warning Scores plus Electrocardiogram (MEWS + EKG )
ในการค้นหาและจัดการในระยะฉุกเฉินของผู้ป่วย ACS โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย
นายอนุชา ศิริวงค์
โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เขตสุขภาพที่ 10
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome, ACS) เกิดจากหลายสาเหตุที่สำคัญ
คือ การอุดตันของหลอดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ส่งผลให้
สมรรถภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวในลดลง การส่งเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายลดลง
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดมีการยกของช่วง ST(STEMI) โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
ขาดเลือดชนิดไม่มีการยกของช่วง ST(NSTEMI) และอาการปวดเค้นไม่เสถียร (Unstable angina) จึงทำให้
มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงหรือทันทีทันใด โดยอาจจะเจ็บบริเวณใต้ลิ้นปี่ร้าวไปที่หัวไหล่ลักษณะการเจ็บ
จะเหมือนถูกบีบรัด ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการช็อกร่วมด้วย ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
ส่วนมากจะเกิดใน 2 ชั่วโมงแรก และมักจะเกิดก่อนผู้ป่วยจะได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในประเทศไทย
การเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดคิดเป็นอัตราต่อแสนประชาการเท่ากับ 26.82 ซึ่งรัฐต้อง เสียค่าใช้จ่าย
ทางด้านสุขภาพแก่ผู้ป่วยเหล่านี้มากถึงร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด (กองระบาดวิทยา, 2565)
โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย มีผู้ป่วยที่มารักษาด้วยอาการเจ็บหน้าอก จุกแน่น ณ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน
และนิติเวชในปี 2565-2566 พบผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จำนวน 50 ราย
แบ่งเป็นผู้ป่วย STEMI 14 ราย NSTEMI 20 ราย และ Unstable angina 16 ราย ผู้ป่วยกลุ่ม STEMI 14 ราย
ได้ส่งต่อเพื่อทำ PCI ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 10 ราย และอีก 4 ราย ส่งต่อเพื่อทำ PCI ที่โรงพยาบาล
สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี (งานเวชระเบียนและสถิติ, 2566) พบว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
มีการคัดกรอง เข้าถึงการตรวจวินิจฉัย การได้รับยา รวมถึงการส่งต่อ ล่าช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดถึง 20 %
(3 ราย จาก 14 ราย ) ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ เช่น การรับรู้ถึงภาวะฉุกเฉิน การซักประวัติ การเข้าถึงการตรวจ
คลื่นหัวใจเบื้องต้น รวมถึงการตัดสินใจเข้ารับการรักษา ล้วนส่งผลต่อความล่าช้าของการเข้าถึง
การรักษาพยาบาลเพื่อแก้ไขภาวะฉุกเฉินของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เพราะการรักษา
จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เร็วที่สุด สามารถคัดกรองคลื่นหัวใจ ภายใน 10 นาที วินิจฉัยและให้ยาได้ภายใน
30 นาที ตั้งแต่เริ่มพบผู้ป่วย สามารถลดการตายจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ ซึ่งปัจจุบัน
การให้บริการด้านสุขภาพ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ
และได้มาตรฐานวิชาชีพ ดังนั้น จึงได้คิดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการประเมิน คัดกรองและจัดการผู้ป่วย
ในกลุ่ม ACS ในภาวะฉุกเฉินขึ้น เพื่อให้โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัยได้เข้าร่วมโครงการ fast track STEMI
กับโรงพยาบาลแม่ข่ายสรรพสิทธิประสงค์ และโรงพยาบาลศรีสะเกษ ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับ
การรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน การประเมินเพื่อการค้นหา และการรักษาผู้ป่วย
ที่รวดเร็วสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ การใช้สัญญาณเตือนภัยแต่เนิ่นๆ (Modified Early
Warning Sign: MEWS) ร่วมกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้เครื่องมือในการประเมิน
ค้นหาเฝ้าระวังผู้ป่วยเชิงรุก และเพื่อให้การตอบสนองอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยและให้การช่วยเหลือ
อย่างทันท่วงที โดยทางโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัยมีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่เป็นระบบชัดเจนตามรายโรค