Page 68 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 68
A29
แต่ยังขาดแนวทางการค้นหา ประเมินรวมถึงเฝ้าระวังการดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤติ และภาวะที่รับรู้ว่าอาการ
ที่เป็นอันตราย ผู้วิจัยจึงได้ทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังเพื่อค้นหาความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและขยายผลไปสู่การดูแล
ผู้ป่วยที่เป็นระบบ
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลของผลการใช้ Modified Early Warning Scores plus Electrocardiogram (MEWS +
EKG ) ในการค้นหาและจัดการในระยะฉุกเฉินของผู้ป่วย ACS โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย
วิธีการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาผลของของการใช้ระบบสัญญาณเตือน ในการพยาบาล
ผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective
study) จากข้อมูลสัญญาณชีพที่เป็นของผู้ป่วย โดยการนำเอาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย ทางการแพทย์และบันทึก
ทางการพยาบาลที่สำคัญ รวมทั้งการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์การใช้ระบบสัญญาณเตือน
(Modified Early Warning Score plus Electrocardiogram; MEWS+ EKG ) การประเมินและการดูแล
ผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติ ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบ
พรรณนาการพัฒนางานตามวงจรปรับปรุงคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือ PDCA Cycle วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) การแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด-สูงสุด
ผู้ป่วยในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช มารักษาด้วยเรื่องของ ACS ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 –
30 กันยายน 2566 คัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ACS 50 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวทางการ
ประเมินสัญญาณเตือนการเข้าสู่ภาวะวิกฤต เพิ่ม ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( MEWS + EKG )
ผลการศึกษา
พบว่าตั้งแต่ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 มีผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองเข้ากลุ่ม
ว่าเป็น กลุ่มผู้ป่วย ACS 50 ราย โดยพบว่าประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 32 ราย (ร้อยละ 64 ) เพศหญิง
18 ราย (ร้อยละ 36)
ผู้ป่วยร้อยละ 28 (14 ราย จัดอยู่ในกลุ่ม STEMI) มีค่า MEWS > 8 คะแนน ได้รับยา SK และส่งต่อ
เพื่อทำ PCI ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 10 ราย และอีก 3 ราย ส่งต่อเพื่อทำ PCI ที่โรงพยาบาลศูนย์
สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี และเสียชีวิตระหว่างการรักษาในระยะฉุกเฉิน 1 ราย และพบว่าในกลุ่ม
ผู้ป่วยดังกล่าว มีการคัดกรอง เข้าถึงการตรวจวินิจฉัย การได้รับยา รวมถึงการส่งต่อ ล่าช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ถึงร้อยละ 21 ( 3 ราย จาก 14 ราย )
ผู้ป่วยร้อยละ 40 (20 ราย จัดอยู่ในกลุ่ม NSTEMI) MEWS > 6 คะแนน ได้รับการรักษาที่ ER จนพ้น
ภาวะวิกฤติและได้รับการรักษาที่หอผู้ป่วยวิกฤติ 5 ราย และหอผู้ป่วยสามัญ 15 ราย
ผู้ป่วยร้อยละ 12 ( 6 ราย Unstable angina) มีค่าMEWS 3-5 คะแนน ได้รับการรักษาที่ตึกผู้ป่วย
สามัญจนสิ้นสุดการรักษาไม่พบภาวะแทรกซ้อนขณะ admit
ผู้ป่วยร้อยละ 20 (10 คน) มีค่าMEWS 0-2 Record vital signs สังเกต รักษาตามอาการ ตามปกติ
อภิปรายผล
จากผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนการเข้าสู่ภาวะวิกฤต
(MEWS+EKG) ในการค้นหาและจัดการกับภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วย ACS โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย ในช่วง
1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 สามารถช่วยให้มีการค้นหาจัดการกับภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วย ACS
รวมถึงการประเมินและเฝ้าระวังอาการการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่ง ผลให้ได้รับการ