Page 715 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 715
T2
9 ด้าน หากพบผลการคัดกรองผิดปกติ มีการประเมินต่อเชิงลึกโดยทีมสหสาขาวิชาชีพแบบ one stop service
พบแพทย์ประจำคลินิกผู้สูงอายุ มีระบบส่งต่อโดยการนัดพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจรักษา
ต่อเนื่องจนสิ้นสุดการรักษา
3. กลุ่มผู้สูงอายุเจ็บป่วย เป็นการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุ
ในโรงพยาบาลทั่วไป (ระดับ S) และโรงพยาบาลชุมชน (ระดับ F1) ดำเนินการจัดตั้งตามมาตรฐานกรมการแพทย์
โดยผู้ป่วยได้รับการดูแลตามแนวทางการดูแลโรค NCD และรับยาต่อเนื่องจากอายุรแพทย์หรือแพทย์ที่ผ่าน
การอบรมด้านหลักสูตร Case Based Learning in Geriatric Ambulatory Care ของกรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ยังได้รับการคัดกรองปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 9 ด้าน โดยมีการคัดกรองในครั้งแรก
ที่เข้ารับยาที่คลินิกและติดตามต่อปีละ 1 ครั้งหรือเมื่อมีอาการผิดปกติที่ต้องประเมินซ้ำก่อน
ผลการศึกษา
1. คัดกรองสุขภาพพบผิดปกติจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
ในช่วงก่อนปรับปรุงระบบที่มีการออกคลินิกผู้สูงอายุเคลื่อนที่ ไม่พบมีการส่งต่อพบแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาล
ตามแนวทางที่จัดระบบไว้ แต่หลังปรับปรุงระบบมีการออกให้บริการคลินิกผู้สูงอายุเคลื่อนที่ตามโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นและมั่นใจในระบบการส่งต่อ จึงมีการส่งต่อพบ
แพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าอย่างต่อเนื่อง
2. กลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดีในโรงพยาบาล เป็นกลุ่มที่ตรวจสุขภาพประจำปีที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้า จำนวน 299 คน มีการคัดกรองพบความดันโลหิตสูง 1.74%, เบาหวาน 2.18%, ไขมันในเลือดสูง
27.07% ส่วนปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ การมองเห็น 38.86%, การได้ยิน 10.48%, การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
4.80%, สมองเสื่อม 45.81% เสี่ยงพลัดตกหกล้ม 68.56%, ภาวะซึมเศร้า 8.73%, สุขภาพช่องปาก 56.76%
และภาวะขาดสารอาหาร 12.22% โดยในทุกปัญหามีการประเมินและส่งต่อพบแพทย์เฉพาะทางอย่างเหมาะสม
3. กลุ่มผู้สูงอายุเจ็บป่วย เป็นการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCD) โดยมีการจัดตั้ง
คลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ซึ่งดำเนินการจัดตั้งตามมาตรฐานกรมการแพทย์ ผ่านเกณฑ์
คลินิกผู้สูงอายุระดับคุณภาพ มีผู้รับบริการในคลินิกสูงอายุจำนวน 186 ครั้ง ทุกรายที่มาตรวจที่คลินิกผู้สูงอายุ
ในครั้งแรกได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน พบปัญหาจัดการประเมินเชิงลึกและให้การรักษาตามระบบ
ทุกราย รวมไปถึงมีการจัดบริการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) โดยส่งเสริมความรู้และ
ทักษะที่จำเป็น เพื่อให้เกิดการจัดการตนเองที่ดีของผู้สูงอายุ
ผลการประเมินความพึงพอใจคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาล 89.76% ส่วนใหญ่พึงพอใจมาก ข้อที่พึงพอใจ
มากที่สุดคือ เจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับด้วยอัธยาศัยที่ดี สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส 93.46% ข้อที่พึงพอใจน้อยที่สุด
คือ ให้บริการด้วยความรวดเร็ว 85.76% โดยระยะเวลาที่เข้ารับบริการโดยเฉลี่ย 98.26 นาที สูงสุด 180 นาที
(มารักษาโรคผู้สูงอายุและได้รับการตรวจสุขภาพ) ต่ำสุด 53 นาที (รับยาเดิมต่อ)
4. การจัดคลินิกผู้สูงอายุเคลื่อนที่เพื่อให้บริการเชิงรุกในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหา พบว่า มีผู้สูงอายุมารับ
บริการทั้งสิ้น 562 คน พบมีปัญหาในแต่ละด้านและการแก้ไขเบื้องต้น/ส่งพบแพทย์หรือวิชาชีพเฉพาะทาง
ดังต่อไปนี้ ด้านการเคลื่อนไหว จำนวนทั้งสิ้น 386 คน, ด้านการขาดสารอาหารหรือมีน้ำหนักตัวลดลงอย่าง
ผิดปกติจำนวนทั้งสิ้น 135 คน, ด้านการมองเห็น จำนวนทั้งสิ้น 478 คน, ด้านการได้ยิน จำนวนทั้งสิ้น 47 คน,
ด้านภาวะซึมเศร้า จำนวนทั้งสิ้น 18 คน, ด้านการกลั้นปัสสาวะ จำนวนทั้งสิ้น 39 คน, ด้านการปฏิบัติกิจวัตร
ประจำวัน จำนวนทั้งสิ้น 5 คน, ด้านสุขภาพช่องปาก จำนวนทั้งสิ้น 323 คน, ด้านความคิดความจำ จำนวน
ทั้งสิ้น 331 คน