Page 718 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 718
T5
ด้านการใช้ภาษา, ด้านมิติสัมพันธ์, ด้านการบริหารจัดการ, ด้านการรับรู้สภาวะรอบตัว,นันทนาการและ
ออกกำลังกาย 2) นัดผู้ป่วยเข้าทำกิจกรรมตามโปรแกรม เดือนละ 1 ครั้ง และทำการบ้านต่อเนื่องที่บ้าน
3 ครั้ง/สัปดาห์ 3) ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เข้ารับการรักษาด้วยการใช้ยาอย่างน้อย 1 ครั้ง
ระยะที่ 3 ระยะประเมินผลลัพธ์รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมโดยใช้
วิธีศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ การปรับปรุงรูปแบบ โดยประเมินผลลัพธ์ ใน 3 ด้าน ดังนี้
1) ประเมินคะแนน ADL (ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน: The Activity of daily living
barthel index) เปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมในเดือนที่ 6
2) เปรียบเทียบคะแนนปริชาณปัญญาก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมในคลินิกผู้สูงอายุ 6 เดือน
3) ความรู้ของบุคลากรคลินิกผู้สูงอายุของโรงพยาบาลชุมชนหลังการอบรม
4) ความสำเร็จในการใช้แนวทางการส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่คลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลขอนแก่น
กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. พยาบาลผู้รับผิดชอบคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 25 คน
2. ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 30 คน
การวิเคราะห์ข้อมูล 1) ใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยการแจกแจงความถี่ และร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์โดยใช้สถิติ Paired T-test One group
การเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษารวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือน สิงหาคม 2565 - สิงหาคม 2566
ผลการศึกษา
4.1 ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน
มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมในคลินิกผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p-value<0.001)
4.2. คะแนนปริชานปัญญาของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยคะแนน
ปริชานปัญญาเต็มเพิ่มขึ้นมากที่สุดใน 3 ด้านคือ Memory,Naming, Abstraction, Orientation โดยมีการเพิ่มขึ้น
ของ Memory มากที่สุดที่ร้อยละ 78
4.3 คะแนนปริชานปัญญาของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมดีขึ้นมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ Memory, Naming, Abstraction, Orientation (p<0.001)
4.4 ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของบุคลากรในการดำเนินงานคลินิกผู้สูงอายุของโรงพยาบาลชุมชนหลังการ
อบรมดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4.5 ใช้แนวทางการส่งต่อจากเครือข่ายเข้าคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลขอนแก่นถูกต้องร้อยละ 90
อภิปรายผล
จากการศึกษาพบว่าผลลัพธ์ในด้านปริชานปัญญา และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของ
ผู้ป่วยสมองเสื่อมเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) ซึ่งปัจจัยที่ช่วยสนับสนุน
ผลการศึกษาในครั้งนี้ อาจเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุระดับต้น (young old) ที่มีความสนใจ
ในการเรียนรู้ด้านสุขภาพมาก จะเห็นได้จากการที่กลุ่มตัวอย่างมีอัตราการหยุดหรือออกจากการวิจัยน้อยมาก
โดยคะแนนปริชานปัญญาที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นในด้าน Memory, Abstraction, Naming, Orientation ซึ่งสอดคล้อง
กับผลการศึกษาของฮาสติ้งและเวสส์ ที่ศึกษาโปรแกรมการฝึกความจำในผู้สูงอายุโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่าง
การพัฒนาตนเองและการทำงานเป็นกลุ่ม โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นเวลา 9 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า
สมรรถนะแห่งตนด้านความจำของกลุ่มทดลองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับการศึกษาของ
ทาดาฮิโกะและคณะ ที่มีการศึกษารูปแบบการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยจะเน้นที่การฝึกฝนสมอง
อย่างเฉพาะเจาะจงใน Domain ของการรู้คิดและสติปัญญาที่มีปัญหาควบคู่กับการทำกิจกรรมนันทนาการ