Page 717 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 717

T4

                                    การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

                                             คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลขอนแก่น


                                                         นางสาวรติอร พรกุณา และทีมพยาบาลศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ

                                                                โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7
                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา

                         โรงพยาบาลขอนแก่นซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ระดับตติยภูมิ มีขนาด 1,200 เตียง ให้บริการสุขภาพ
                  แบบบูรณาการครอบคลุมทุกมิติ เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายในการรับส่งต่อผู้ป่วยในจังหวัดขอนแก่น และในเขต
                  สุขภาพที่ 7 จากสถิติจำนวนผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่นทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

                  ในปีพ.ศ. 2561 -2562 พบว่าร้อยละ 8.1 มีภาวะโรคสมองเสื่อม โดยมีสาเหตุจากโรคอัลไซเมอร์ที่ร้อยละ 55
                  โรคหลอดเลือดสมองที่ร้อยละ 37 โดยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันทั้งขั้นพื้นฐานและขั้นสูง
                  ถดถอยถึงร้อยละ 75 มีความพิการเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 ด้านร้อยละ 29 ครอบครัวทอดทิ้งหรือจับขังในบ้านถึง
                  ร้อยละ 5 จากมีอาการรบกวนที่ทำให้เป็นภาระของครอบครัว จากปัญหาที่กล่าวมาโรงพยาบาลขอนแก่นมีรูปแบบ
                  การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในคลินิกผู้สูงอายุแบบไม่ใช้ยายังไม่ชัดเจน ทั้งแนวทางการส่งต่อ เครื่องมือ หรือ

                  โปรแกรมเพื่อฟื้นฟูโรคสมองเสื่อมทั้งในโรงพยาบาลขอนแก่นและเครือข่ายในระดับจังหวัดและเขตสุขภาพ
                  ดังนั้นผู้ศึกษาจึงออกแบบพัฒนารูปแบบการดูแลและเครื่องมือเพื่อใช้ในการเพิ่มศักยภาพสมองและสมรรถภาพ
                  ร่างกายในผู้สูงอายุสมองเสื่อม โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ ร่วมกับทฤษฎีทางประสาทวิทยา สังเคราะห์เป็นแนวคิดใหม่

                  คือ Rehabilitainment เป็นการผสมผสานแนวคิดการ Rehabilitation, และ Entertainment มาไว้ร่วมกัน
                  เพื่อเติมเต็มช่องว่างองค์ความรู้ของการพยาบาลผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบาง ให้ครอบคลุมทุกบริบทของระบบ
                  บริการสุขภาพ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนาแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยสมองเสื่อม ในคลินิกผู้สูงอายุเครือข่าย

                  สถานบริการสุขภาพตั้งแต่ระดับปฐมภูมิถึงตติยภูมิ ในจังหวัดขอนแก่น
                         2. เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในคลินิกผู้สูงอายุ
                         3. เพื่อศึกษาผลลัพธ์การใช้รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในคลินิกผู้สูงอายุ

                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ศึกษา เป็น 3 ระยะ ดังนี้

                         ระยะที่ 1 ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา ศักยภาพบุคลากรผู้รับผิดชอบคลินิกผู้สูงอายุ รูปแบบ
                  การดูแลผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุเครือข่ายจังหวัดขอนแก่น และปัญหาการส่งต่อ
                         ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการ เป็นการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในคลินิก
                  ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลขอนแก่น และเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน โดยมีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

                         1) การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพยาบาลผู้รับผิดชอบคลินิกผู้สูงอายุทั้งแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา
                  ในโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 25 แห่ง ของจังหวัดขอนแก่น 2)พัฒนาแนวทางการปรึกษาส่งต่อ ส่งกลับและนัดหมาย
                  ล่วงหน้าเข้าสู่คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลขอนแก่น จากโรงพยาบาลชุมชนเครือข่าย

                         การเข้าสู่โปรแกรมในการศึกษา ดังนี้ 1) พัฒนาโปรแกรมฟื้นฟูศักยภาพผู้ป่วยสมองเสื่อมแบบ
                  Rehabilitainment (RB Program) แบบไม่ใช้ยา ในประเด็น 6 ด้าน ดังนี้ ด้านความตั้งใจจดจ่อ, ด้านความจำ,
   712   713   714   715   716   717   718   719   720   721   722