Page 721 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 721

T8

                  ไร้รอยต่อ ตามแนวคิดขององค์การอนามัยโลกที่เน้นสุขภาพต้องอยู่ที่ครอบครัวและชุมชนเพื่อให้เกิดการดูแล
                  ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่มีประสิทธิภาพสืบไป

                  วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

                         เพื่อพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุแบบบูรณาการครบวงจรไร้รอยต่อ
                  ให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพสมองและป้องกันภาวะ
                  สมองเสื่อม โดยมีตัวชี้วัดดังนี้

                         1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม(Dementia) ได้รับการดูแลแบบบูรณาการครบวงจรโดยทีมสหวิชาชีพ
                  ที่ Memory clinic ในคลินิกชะลอรักษ์เวชกรรมสังคม รพ.หาดใหญ่ มากกว่าร้อยละ 80
                         2.ผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (Mild cognitive impairment) มีภาวะสมองเสื่อม น้อยกว่า
                  ร้อยละ 10

                  วิธีการดำเนินงาน

                         1. จัดทำแนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมแบบบูรณาการครบวงจรไร้รอยต่อ รพ.หาดใหญ่
                         2. เพิ่มศักยภาพเครือข่ายโดยการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในชุมชนแก่
                  เจ้าหน้าที่ รพ.สต. (Care manager) และอสม. (Caregiver)
                         3. ระบบการส่งต่อจากชุมชน (Green channel) โดย รพ.สต. และชุมชนคัดกรองภาวะสมองเสื่อมโดยใช้
                  แบบประเมิน Mini Cog และส่งต่อผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องมายังคลินิกชะลอรักษ์ประจำศูนย์แพทย์ชุมชน

                  ทั้ง 5 แห่งเพื่อประเมินภาวะการรู้คิดบกพร่องและส่งต่อผู้ที่สงสัยภาวะสมองเสื่อมเข้ารับการรักษากับแพทย์
                  เฉพาะทางอายุรกรรมสมองที่ Memory clinic
                         4. จัดบริการ Memory clinic (One stop clinic) ในคลินิกชะลอรักษ์เวชกรรมสังคม ให้มีการดูแล

                  ผู้ป่วยสมองเสื่อมแบบบูรณาการโดยทีมสหวิชาชีพแบบครบวงจร ดังนี้

                      •  ประเมิน Comprehensive geriatric assessment โดยพยาบาลและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
                      •  ตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะสมองเสื่อมโดยแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรมสมอง
                      •  โปรแกรม Brain rehab โดยนักกิจกรรมบำบัด (กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพสมอง)

                      •  คลินิกใจฟู โดยทีมสุขภาพจิต (กิจกรรม Group support สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม)

                      •  คลินิกโภชนาการ โดยนักโภชนาการ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
                      •  คลินิกทันตกรรม ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน

                      •  โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยนักกายภาพบำบัด
                      •  เชื่อมระบบ Home healthcare เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านและในชุมชน (Dementia care plan)
                         5. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (Mild cognitive
                  impairment) มี 2 แบบ คือ 1. Home program เป็นหนังสือแบบฝึกสมรรถภาพสมอง (สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่
                  สะดวกมาทำกิจกรรมแบบกลุ่ม) 2.โปรแกรม TEAMV ของสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อ

                  ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์  (กิจกรรมกลุ่ม ดำเนินการทุก 2 สัปดาห์ ติดต่อกัน 6 ครั้ง)
                         6. ระบบติดตามประเมินการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุหลังเข้ารับการดูแลที่ 3, 6, 12 เดือน

                  ผลการดำเนินงาน
                         ปีงบประมาณ 2567 ผู้สูงอายุอำเภอหาดใหญ่ได้รับการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมจำนวน 11,945 คน
                  พบว่ามีการรู้คิดบกพร่อง 183 คน คิดเป็นร้อยละ 1.53 ได้รับการส่งต่อมายังคลินิกชะลอรักษ์ประจำศูนย์แพทย์

                  ชุมชนทั้ง 5 แห่ง เพื่อประเมินภาวะสมองเสื่อมจำนวน 113 คน พบว่า
   716   717   718   719   720   721   722   723   724   725   726