Page 722 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 722
T9
• ผู้สูงอายุได้รับการวินิจฉัยเป็นการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (Mild cognitive impairment) จำนวน 75
คน ได้รับกิจกรรมพัฒนาศักยภาพสมองแบบ Home program 50 คน และโปรแกรม TEAMV 10 คน
จากการประเมินภาวะสมองเสื่อมซ้ำหลังเข้ารับการดูแลที่ 3 เดือน พบว่าสามารถป้องกันการเกิดภาวะ
สมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีภาวะ Mild cognitive impairment ได้ร้อยละ 100
• ได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวะสมองเสื่อม (Dementia) จำนวน 8 คน ได้รับการดูแลแบบบูรณาการครบวงจร
โดยทีมสหวิชาชีพที่ Memory clinic ในคลินิกชะลอรักษ์เวชกรรมสังคม ร้อยละ 100
อภิปรายผล
พบว่าผู้สูงอายุและผู้ดูแลขาดความรู้ในการดูแลรักษาภาวะการรู้คิดบกพร่อง คิดว่าภาวะรู้คิดบกพร่อง
เล็กน้อยไม่จำเป็นต้องรักษาเนื่องจากยังไม่กระทบการดำเนินชีวิตประจำวัน คิดว่าการรักษาโรคสมองเสื่อมคือ
การรับประทานยาเพียงอย่างเดียว จึงไม่ให้ความสำคัญในการทำกิจกรรมพัฒนาศักยภาพสมองซึ่งเป็นการรักษา
ที่จำเป็นต้องได้รับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและป้องกันภาวะสมองเสื่อม
สรุปและข้อเสนอแนะ
การพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุแบบบูรณาการครบวงจรไร้รอยต่อ
เป็นการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพและเครือข่ายในชุมชนทำให้ผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องสามารถ
เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้จากการติดตามการเกิดภาวะสมองเสื่อมในระยะ 3 เดือน
หลังเข้ารับการดูแล พบว่าระบบการดูแลและป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุแบบบูรณาการครบวงจรไร้รอยต่อ
ยังช่วยป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (Mild cognitive impairment)
ได้อีกด้วย
เพื่อลดข้อจำกัดการเดินทางมารับบริการที่สถานบริการและเพิ่มการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้อย่าง
ต่อเนื่องควรเพิ่มระบบ Tele-consult ผู้สูงอายุที่มีภาวการณ์รู้คิดบกพร่องในชุมชนกับ Memory clinic
ภาพประกอบการดำเนินงาน