Page 725 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 725
T12
การพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มผู้ป่วยสถานชีวาภิบาล โรงพยาบาลพะเยา
นางสาวชมพูนุท ไชยชมภู
โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญและปัญหา
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable diseases, NCDs) เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของ
จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งสถานการณ์จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มจำนวน
มากขึ้น ร้อยละ 26.72 เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ส่งผลให้ส่วนหนึ่งกลายเป็นผู้ป่วยที่มี
ภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน ติดเตียง หรือเป็นผู้ป่วยระยะท้าย อีกทั้งยังสร้างภาระต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและ
บุคคลใกล้ชิด ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานจากอาการทางกายและทางใจ
โรงพยาบาลพะเยาเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ที่ให้การดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ภาวะพึ่งพิงและการดูแลแบบ
ประคับประคอง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 ซึ่งเป็นระบบการทำงานที่แยกส่วนกัน บุคลากร
ยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินงาน แต่ละปีที่ผ่านมายังคงพบปัญหาและอุปสรรคที่ต้องพัฒนา
อย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2567 จึงมีการจัดตั้งศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาล เพื่อให้มีระบบการดูแล
ต่อเนื่องตั้งแต่ผู้สูงอายุ ภาวะพึ่งพิง และระยะท้ายให้เชื่อมโยงกัน มีการดูแลทั้งในระดับโรงพยาบาลและมีการดูแล
ต่อเนื่องไปยังบ้านและชุมชน เป็นการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่เน้นความต้องการของแต่ละรายอย่างเหมาะสม
ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ให้ได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ กาย
จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งเป็นแม่ข่ายและหน่วยประสานในการกำกับติดตามและดูแลกลุ่มผู้ป่วย
ดังกล่าวของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพะเยา อันเป็นการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนับตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัย
จนวาระสุดท้ายของชีวิต อย่างไรก็ตาม พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่กลับบ้านและชุมชนแล้ว ไม่สามารถดูแล
จัดการอาการรบกวนที่บ้านได้หรือญาติปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยไม่ถูกต้อง ทำให้สร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วย
และญาติเมื่อกลับไปดูแลที่บ้าน ศูนย์ชีวาภิบาลจึงมีการพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว และมีการส่งต่อ
ผู้ป่วยโดยอาศัยการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายบริการของอำเภอเมืองพะเยาและเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน
เพื่อสนับสนุนการดูแลและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน ติดเตียง และผู้ป่วยระยะประคับประคอง เข้าถึงบริการที่มี
คุณภาพมาตรฐานเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต
2) เพื่อพัฒนาระบบชีวาภิบาลในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน ติดเตียง และผู้ป่วยระยะ
ประคับประคอง ให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงตั้งแต่โรงพยาบาลสู่บ้านและชุมชน
3) เพื่อบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพและหน่วยงานภาครัฐให้มีส่วนร่วม
ในการดูแลผู้ป่วยในชุมชน
วิธีการดำเนินงาน
เป็นการดำเนินงานแบบ Continuous Quality Improvement (CQI) ดูแลกลุ่มผู้ป่วยผู้สูงอายุ ภาวะ
พึ่งพิงและระยะประคับประคองที่มารับบริการศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลพะเยา
1) การจัดระบบบริการศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาล เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยผู้สูงอายุ ภาวะพึ่งพิง และระยะ
ประคับประคองเข้าถึงระบบบริการที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก