Page 727 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 727
T14
อภิปรายผล
การดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ภาวะพึ่งพิง และระยะประคับประคองเป็นการดูแลต่อเนื่องตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับ
การวินิจฉัยจนเสียชีวิต การพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มผู้ป่วยแบบมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลพะเยาโดยทีมสห
วิชาชีพและเครือข่ายในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ อปท, รพ.สต., อสม., พมจ. ชมรมต่างๆ ล้วนมี
ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ประกอบกับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องของทีมโดยใช้แนวคิด
Plan – Do – Check - Act (PDCA) รวมถึงการเปิดช่องทางในการรับคำปรึกษาให้การช่วยเหลือที่ต่อเนื่องและ
ทันท่วงที ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงระบบบริการและได้รับการดูแลอย่างไร้รอย
สรุปและข้อเสนอแนะ
การดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ภาวะพึ่งพิง และระยะประคับประคองจำนวนหนึ่งต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
หากมีระบบการการดูแลที่เชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยอย่างระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน จะทำให้ผู้ป่วยและ
ครอบครัวได้รับการดูแลที่มีคุณภาพถึงแม้จะกลับไปดูแลต่อที่บ้าน ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองความต้องการทุกมิติ
อย่างแท้จริง ศูนย์ชีวาภิบาล รพ.พะเยา มีแผนพัฒนาปรับปรุงแนวปฏิบัติรูปแบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยร่วมกับ
เครือข่ายสุขภาพที่เป็นระบบ ครอบคลุมทั้งการรับ - ส่งต่อผู้ป่วย ให้มีความชัดเจนเข้าใจง่าย สามารถปฏิบัติ
ตามและนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วย มีแผนพัฒนาเกณฑ์การส่งต่อเมื่อผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงเข้าสู่ระยะท้าย
มีแผนพัฒนาระบบ Telemedicine ตรวจติดตามผู้ป่วยเพื่อลดการแออัดและการรอคอยในโรงพยาบาล
นอกจากนี้ การค้นหากลุ่มผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ท้าทายให้ทีมศูนย์ชีวาภิบาลและเครือข่ายสุขภาพได้ขยายกลุ่มเป้าหมาย
ได้เข้าถึงบริการให้มากขึ้นและได้รับการดูแลตามปัญหาของแต่ละรายอย่างเหมาะสม การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่ง
สำคัญที่สุดในการพัฒนางานให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์เกิดกับผู้ป่วยอย่างสูงสุด จึงควรพัฒนาศักยภาพ
ของทีมดูแลอย่างสม่ำเสมอ เกิดการต่อยอดของหน่วยงานภาครัฐหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เห็น
ความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล โดยมีการวางแผนจัดตั้งสถานชีวาภิบาลในชุมชนในอนาคตที่จะ
ดูแลกลุ่มเป้าหมายในชุมชนต่อไป