Page 78 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 78
B8
วัตถุประสงค์รอง : ความพึงพอใจของผู้ป่วย คะแนนความมั่นใจของผู้ป่วยในผลลัพธ์การรักษา และ
ระดับความมั่นใจของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลอำเภอที่มีต่อระบบ S.O.S.+
วิธีการศึกษา
ระบบ Surin One-stop Service Plus (S.O.S.+) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้งานระบบ S.O.S.
ที่มีประสิทธิภาพอยู่เดิม ระบบนี้อาศัย nurse coordinator เป็นกำลังสำคัญในทุกโรงพยาบาลอำเภอของ
จังหวัดสุรินทร์ เพื่อประสานงานและส่งต่อข้อมูลของผู้ป่วยมะเร็ง ให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางโดยไม่จำเป็น ระบบนี้เริ่ม
ใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 และได้ผนวกระบบ telemedicine ในการดำเนินงานร่วมกัน (รูปที่ 1)
รูปที่ 1 แสดงการดำเนินงานของระบบ Surin One-stop Service Plus (S.O.S.+)
โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลสุรินทร์ เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและวางแผนการ
ทำงานร่วมกัน โดยมุ่งเน้นที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดชนิดรับประทาน ยา
capecitabine
2. ระบุโรงพยาบาลอำเภอที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและ
มีระบบ telemedicine ที่พร้อมใช้งาน
3. กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับการนัดหมายระหว่างโรงพยาบาลทั้งสองแห่งและผู้ป่วย
โดยดำเนินการสื่อสารผ่านทาง Line application ของศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลสุรินทร์ ร่วมกับการส่งต่อข้อมูล
ผู้ป่วยผ่านระบบ S.O.S.
4. หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางโรคมะเร็งทาง telemedicine ผ่านระบบ
S.O.S.+ แล้ว nurse coordinator ของศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลสุรินทร์จะนำส่งยาเคมีบำบัด capecitabine ไป
ยังห้องยาโรงพยาบาลอำเภอปลายทางผ่านระบบของศูนย์ refer
5. จากนั้นเภสัชกรที่โรงพยาบาลอำเภอจะแนะนำวิธีการใช้ยาและภาวะแทรกซ้อนของการใช้ยา
อีกครั้งก่อนจ่ายยาดังกล่าวให้ผู้ป่วย
ขั้นตอนข้างต้น คือ การสร้างระบบที่เรียกว่า S.O.S.+ และได้เริ่มนำมาใช้ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566
จนถึงปัจจุบัน การศึกษานี้ได้ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย ความมั่นใจของผู้ป่วยในผลลัพธ์ของการรักษา
และระดับความมั่นใจของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลอำเภอที่มีต่อระบบ S.O.S.+ โดยใช้ระดับ
คะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 10 โดยคะแนน 1 คือพึงพอใจหรือมั่นใจน้อยที่สุด และ 10 คือพึงพอใจหรือมั่นใจมากที่สุด
ผลการศึกษา