Page 85 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 85
B15
ประสิทธิผลการพัฒนาระบบการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงครบวงจร
นางสาวนภารัตน์ บัวศรีใส และทีม Service Plan สาขาโรคมะเร็ง
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง เป็นมะเร็งที่พบสูงเป็นอันดับ 3 จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ 2564
พบว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย และอันดับที่ 3 ในเพศหญิง สถิติมะเร็งลำไสใหญ่
และไส้ตรงในเขตสุขภาพที่ 5 และในจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2564 พบเป็นอันดับที่ 1 ในเพศชาย และอันดับ 2
ในเพศหญิงรองจากมะเร็งเต้านม การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ และการตรวจหาความ
ผิดปกติที่ลำไส้ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก พบว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
ได้อย่างชัดเจน
กระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลำไสใหญ่และไส้ตรง และลดการเสียชีวิตของ
ผู้ป่วยมะเร็งลำไสใหญ่และไส้ตรง โดยกำหนดนโยบายตรวจคัดกรองมะเร็งมะเร็งลำไสใหญ่และไส้ตรงระดับชาติฟรี
โดยได้รับการบรรจุเป็นชุดสิทธิประโยชน์ จาก สปสช. เมื่อปีงบประมาณ 2561 และดำเนินการต่อเนื่องจนถึง
ปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายคือ ประชากรกลุ่มเสี่ยง (อายุ 50-70 ปี) ร้อยละ 10 ได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และ
ลำไส้ตรงด้วย Fit test ≥ ร้อยละ 50 และในกลุ่มเสี่ยงที่ผล Fit test เป็นบวก ได้รับการตรวจ colonoscopy ≥ ร้อย
ละ 50 (KPI, 2566) ซึ่งการคัดกรองให้ได้ตามเป้าหมายต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของทีม service plan มะเร็ง
ประกอบด้วย เวชกรรมสังคม ดูแลประสานเครือข่ายภายนอกโรงพยาบาล ได้แก่ อสม. รพ.สต. เป็นต้น เพื่อคัด
กรอง Fit test และทีม PCT ศัลยกรรม ดูแลประสานเครือข่ายภายในโรงพยาบาล ได้แก่ ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ทีม
ผ่าตัด ทีมวิสัญญีแพทย์ และศัลยแพทย์ เป็นต้น เพื่อคัดกรอง colonoscopy
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 เป็นโรงพยาบาลทั่วไประดับ M1 มีศักยภาพในการคัดกรอง
มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงดังนี้ ด้านบุคลากร มีทีมเวชกรรมสังคมที่สามารถให้บริการตรวจคัดกรอง Fit test มี
ทีม PCT ศัลยกรรม ได้แก่ ศัลยแพทย์ 4 ท่าน วิสัญญีแพทย์ 4 ท่าน ทีมห้องผ่าตัด ทีมผู้ป่วยนอกศัลยกรรม
และทีมผ่าตัดวันเดียวกลับ (ODS) ด้านเครื่องมือ มีกล้อง Colonoscope 2 ตัว ด้านสถานที่ มีห้องผ่าตัด 4
ห้อง พบอุบัติการณ์มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ปี 2563-2565 อยู่ในอันดับที่ 2 ทั้ง 3 ปี โดยพบผู้ป่วยจำนวน
28, 36 และ 30 ราย ตามลำดับ ในปี 2565 ผู้ป่วยที่พบเป็นในระยะที่ 3-4 ร้อยละ 63.33 ทำให้ผู้ป่วยมีอัตรา
รอดชีวิตต่ำ ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง
ดังนั้น Service plan สาขามะเร็ง โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 จึงได้จัดทำโครงการตรวจ
คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ในผู้ที่มีอายุ 50-70 ปี ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้
ใหญ่และไส้ตรง เพื่อค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรก และความผิดปกติที่สามารถแก้ไขได้ก่อนเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งจะ
เกิดผลดีต่อผู้ที่มาตรวจคัดกรอง จะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาที่รวดเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
รวมถึงเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งพบว่าความต่อเนื่องของการคัดกรองในช่วง 6 เดือนแรก ไม่เป็นไป
ตามเป้าหมาย จากการวิเคราะห์ปัญหา พบว่า จากสถานการณ์โควิด และปัญหาการเบิกจ่ายชุดตรวจ รวมทั้งไม่มี
แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน การเปลี่ยนถ่ายอำนาจการปกครองเครือข่ายรพ.สต. ทีม Service plan สาขามะเร็ง จึงมี
แนวคิดพัฒนาระบบการการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงครบวงจร เพื่อให้การคัดกรองได้ตามเป้าหมาย
ตัวชี้วัด และมีแนวทางปฏิบัติในการบริการทิศทางเดียวกัน