Page 83 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 83
B13
ได้แนะนำให้ผู้ป่วยเริ่มรับการรักษาหลังจากได้รับการวินิจฉัยไม่เกิน 42 วัน (ตามตัวชี้วัด Service plan สาขามะเร็ง)
จากการทบทวนระบบการส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งในปี 2560 พบว่าตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจนเริ่มขั้นตอนการ
รักษาใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 60 วัน เมื่อทำการวิเคราะห์พบความสูญเปล่าของกระบวนการทำงาน
2) การกำหนดสายธารแห่งคุณค่าทุกขั้นตอน (Map the Value Stream) NCM ส่งผู้ป่วยพบ CNC
เพื่อประสานเรื่องส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบ Refer online และเมื่อโรงพยาบาลที่รับ Refer มีใบตอบกลับเพื่อขอ
ผลตรวจเพิ่มเติม หรือส่งปรึกษาแผนกอื่นๆ จะประสานกลับไปที่ NCM เพื่อขอ order และจัดการนัดให้ผู้ป่วย
และโทรแจ้งผู้ป่วยให้มาตรวจตามนัด ในส่วนของโรงพยาบาลที่ไม่มีระบบ Refer online จะจัดเตรียมเอกสาร
ที่จำเป็นให้ครบถ้วน
3) การสร้างทิศทางให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง (Create Flow) หลังจาก CNC ได้มีการทบทวน
กระบวนการ จึงมีการร่วมหารือกับ NCM แต่ละแผนกกำหนดแนวทางร่วมกัน เพื่อลดขั้นตอน และอำนวย
ความสะดวกแก่ผู้ป่วย โดยในอดีตผู้ป่วยจะเป็นศูนย์กลางการต้องติดต่อในแต่ละส่วนเอง ดังแสดงในภาพที่ 1
แต่ในปัจจุบันมี CNC เป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานให้
4) การใช้ระบบการดึงคุณค่า (Establish Pull System) หลังจากได้ใช้ Flow ในการส่งต่อผู้ป่วย
ทำให้ผู้ป่วยได้รับผลการตรวจที่ครบถ้วน และพร้อมเริ่มกระบวนการการรักษาที่โรงพยาบาลที่รับ Refer เมื่อถึง
วันนัด สามารถลดระยะเวลารอคอยการรักษาจาก 63 วัน เหลือ 36 วัน ในส่วนการประสานงานร่วมกันระหว่าง
CNC และ NCM ทำให้สามารถลด Visit ของคนไข้ ซึ่งทั้งกระบวนการสามารถลดระยะเวลารอคอย และลด
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วย
5) การสร้างความสมบูรณ์แบบ (Seek Perfection) ผู้จัดทำได้กระบวนการ plan – do – check – act
เพื่อทำให้กระบวนการสมบูรณ์แบบที่สุด โดยแรกเริ่มยังไม่มีการใช้ระบบ Fast track ในการขอคิวตรวจ CT
และ U/S ทำให้ผลตรวจได้ไม่ทันวันนัด จึงได้ขอความร่วมมือจากแพทย์รังสีวินิจฉัยเพื่อทำระบบ Fast track
ขึ้น ต่อมาได้มีการปรับปรุงกระบวนการอีกครั้งในการแต่งตั้ง NCM เพื่อช่วยประสานงานระหว่างแพทย์ทำให้
กระบวนการมีความสมบูรณ์ และราบรื่นขึ้น
ด้วยกระบวนการดังกล่าวลีน จึงเป็นแนวคิดที่ช่วยกำจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้จัดทำจึงนำ
แนวคิดนี้มาใช้ในการสร้างรูปแบบและพัฒนากระบวนการทำงานในการส่งต่อผู้ป่วยมะเร็ง
ผลการศึกษา
จากการพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งด้วยหลักการลีน ทำให้มีการจัดการปัญหาได้อย่างมีระบบ
มองเห็นปัญหาได้อย่างชัดเจน และแก้ปัญหาได้อย่างตรงเป้าประสงค์ เน้นการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ
มี Cancer Nurse Coordinator เป็นผู้ประสานงาน โดยมีคนไข้เป็นจุดศูนย์กลางของกระบวนการ จากผลการ
ดำเนินงานจะเห็นได้ว่าสามารถลดระยะเวลารอคอยการรักษาจาก 63 วัน เหลือ 36 วัน
ดังแสดงในภาพที่ 3 และลด Visit ของคนไข้จาก 6-7 Visit เหลือ 3-4 Visit ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
และลดค่าเสียเวลาของคนไข้และญาติได้
ปัจจุบัน
ระบบเก่า
รอผลชิ้นเนื้อ พบแพทย์รพ.รับRefer ตรวจเพิ่มเติม พบแพทย์รพ.รับRefer 2
0 10 20 30 40 50 60 70