Page 82 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 82
B12
พยาบาลผู้ประสานงานโรคมะเร็ง (Cancer Nurse Coordinator)
กับการพัฒนาคุณภาพการส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งด้วยหลักการลีน (LEAN)
ภคินี มงคลพันธุ์
โรงพยาบาลนครนายก เขตสุขภาพที่ 4
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีความรุนแรงซับซ้อนและคุกคามต่อชีวิต ส่งผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจ สังคม
เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ด้วยวิธีการรักษาที่มีความซับซ้อน ผู้ป่วยมักต้องเผชิญกับ
อาการทุกข์ทรมาน ความไม่สุขสบายจากโรคและอาการข้างเคียงจากการรักษา ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานและ
ความสูญเสียทั้งต่อตัวผู้ป่วยและครอบครัว เนื่องจากเป็นโรคที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ต้องใช้เวลาในการรักษาที่ยาวนาน
ซึ่งในผู้ป่วยที่ต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่นที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ทั้งการ
นัดหมาย เอกสารข้อมูลที่ครบถ้วน และผลการตรวจต่างๆ ที่จำเป็นต่อการรักษา
โรงพยาบาลนครนายก มีศักยภาพในการวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยมะเร็งได้ เช่น ผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด แต่ยังมี
โรคมะเร็งบางชนิด หรือบางการรักษาที่ต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ซึ่งในการส่งต่อผู้ป่วย
จำเป็นต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย อาจจะมีการขอผลการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
โดยส่งกลับมาตรวจที่ต้นสังกัด ผู้ป่วยต้องกลับมาพบแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อขอคำสั่งการตรวจ และต้องไปขอคิว
นัดตรวจ การขอส่งตรวจเพิ่มเติมทางพยาธิวิทยาจากชิ้นเนื้อเก่าที่เคยส่งตรวจไป รวมทั้งการขอ Block slide
เพื่อนำไปตรวจเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลที่รับส่งต่อ หรือมาขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติม ปัญหาที่พบคือ บางครั้งการ
ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมทำไม่ทันวันนัดพบแพทย์ หรือนำเอกสารการตรวจเพิ่มเติมไปไม่ครบ ทำให้การรักษาต้อง
ล่าช้าออกไป ผู้ป่วยต้องเดินทางไปมาโรงพยาบาลหลายครั้ง และแม้การรักษาจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยผู้ป่วย
สามารถใช้สิทธิการรักษาตามที่ผู้ป่วยมี แต่ผู้ป่วยและญาติจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เสียโอกาสใน
การประกอบอาชีพ ซึ่งในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีเช่นนี้ก็เป็นการลดภาระให้ผู้ป่วย และญาติได้
พยาบาลผู้ประสานงานโรคมะเร็ง (Cancer Nurse Coordinator, CNC) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา
ระบบส่งต่อผู้ป่วย เพื่อเอื้ออำนวยต่อการรักษา ตอบสนองความต้องการในการรับบริการของผู้ป่วย ซึ่งจะส่งผล
ลัภธ์ที่ดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการพยาบาล โดยเน้นการทำงานร่วมกับพยาบาลผู้จัดการรายกรณ
(Nurse Case Manager, NCM) และสหสาขาวิชาชีพ
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อลดระยะเวลารอคอยการรักษา
2. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าเสียเวลา ในการมาพบแพทย์ของผู้ป่วยและญาติ
วิธีการศึกษา
การบริหารการจัดการแบบลีน (Lean management) เป็นแนวคิดและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับ
การแยกว่าในกระบวนการทำงานนั้นขั้นตอนใดที่มีคุณค่าและไม่มีคุณค่า และกำจัดสิ่งที่ไม่มีคุณค่าออกไป
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกระบวนการทำงานในทุกกระบวนการ Womack และ Jones อธิบายแนวคิดลีน
ว่ามีหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ
1) การระบุส่วนที่มีคุณค่าของกระบวนการ (Identify Value) หลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น
มะเร็งแล้ว ระยะเวลาในการเริ่มรักษามีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ