Page 80 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 80

B10


                   ประสิทธิผลของยา gabapentin ต่อการป้องกันอาการปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยมะเร็ง

                          ที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตรที่ประกอบด้วยยา oxaliplatin ในโรงพยาบาลพะเยา


                                                         ภก.ทิพย์เนตร มหามิตร, พญ.สมนาม สุปินะ, พว.กษิรา สานุกิจ

                                                                                  โรงพยาบาลพะเยา เขตสุขภาพที่ 1
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                          ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตรที่ประกอบด้วยยา oxaliplatin ส่วนใหญ่มักจะเกิดผล
                  ข้างเคียงจากยา คืออาการปลายประสาทอักเสบเกิดได้ร้อยละ 20 – 95 ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยใน
                  ระยะยาว การศึกษาก่อนหน้านี้ไม่ได้แบ่งระดับความรุนแรงของอาการปลายประสาทอักเสบที่เกิดขึ้น และการ

                  บริหารยา gabapentin ยังมีความล่าช้าไม่ได้เริ่มตั้งแต่การได้รับยาเคมีบำบัดตั้งแต่รอบแรก ทำให้ไม่สามารถ
                  ป้องกันและจัดการผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการป้องกัน อาการปลายประสาทอักเสบ ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ

                  gabapentin 300 mg วันละ 1 ครั้งก่อนนอน กับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ gabapentin ของการได้รับยาเคมีบำบัด
                  สูตรที่ประกอบด้วยยา oxaliplatin

                  วิธีการศึกษา
                         เป็นการศึกษาเชิงประสิทธิผล (efficacy research) retrospective cohort study โดยใช้แบบฟอร์ม
                  เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกติดตามอาการข้างเคียงของผู้ป่วยมะเร็งทุกคนที่ได้รับยาเคมีบำบัดโดยให้ความสำคัญ

                  กับการแบ่งระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ติดตามในทุกรอบรับยาเคมีบำบัดจนกระทั่งผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด
                  ครบสูตรการรักษา ตั้งแต่ มกราคม 2562 – เมษายน 2566 ในคลินิกเคมีบำบัดโรงพยาบาลพะเยา กำหนด
                  ขนาดตัวอย่างโดยคำนวณจากอัตราการเกิดปลายประสาทอักเสบในกลุ่มที่ได้รับยา gabapentin ร้อยละ 55
                  และกลุ่มที่ไม่ได้รับยา gabapentin ร้อยละ 80 กำหนด power 80 one side alpha error 0.05 significant
                  ratio 1:3 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยา gabapentin อย่างน้อย 33 ราย และกลุ่มที่ไม่ได้รับยา gabapentin

                  อย่างน้อย 99 ราย
                         ได้กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการศึกษาจำนวน  134 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยา gabapentin 36 ราย และ
                  กลุ่มที่ไม่ได้รับยา gabapentin 98 ราย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติทดสอบ t-test, exact probability

                  test  และวิเคราะห์ประสิทธิผลของยา gabapentin ด้วย multivariable ordinal logistic regression
                  ผลการศึกษา

                         พบว่าเกิดอาการปลายประสาทอักเสบในระดับที่  2-3  ถึงร้อยละ  58  ในกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับ
                  gabapentin แต่ในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับ gabapentin เกิดอาการปลายประสาทอักเสบในระดับนี้ร้อยละ 6 ดัง
                  แสดงในตารางที่ 1

                         ตารางที่ 1 ผลการเกิดอาการปลายประสาทอักเสบ
                       ระดับของอาการ        ไม่ได้รับ gabapentin      ได้รับ gabapentin           P-value
                     ปลายประสาทอักเสบ          จำนวน (ร้อยละ)          จำนวน (ร้อยละ)
                        ไม่เกิดอาการ              8 (8.16)               25 (69.44)                <0.001
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85