Page 96 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 96

B24

                  เจ็บป่วยได้เร็วขึ้น นอกจากแรงสนับสนุนทางสังคม ช่วยให้เกิดความ มั่นคงทางอารมณ์ และมีพฤติกรรมการ

                  ปรับตัวที่เหมาะสมสอดคล้องกับการศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างซึ่งส่วนใหญ่สถานภาพคู่ ร้อยละ 61.29 ได้ แรง
                  สนับสนุนทางสังคม โดยส่งเสริมให้ครอบครัว เข้ามามีส่วนร่วมทำให้เกิดความมั่นใจและสามารถ ดูแลตนเองได้
                         สำหรับการเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นภาวะแทรกซ้อนน้ำเหลืองคั่ง ร้อยละ 12.90 ซึ่งการเกิดภาวะ

                  น้ำเหลืองคั่ง (Seroma) พบได้บ่อย แต่ไม่มีอันตราย โดยส่วนมากพบบริเวณรักแร้ ซึ่ง สัมพันธ์กับการผ่าตัด
                  เลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ถ้าเลาะมากมีโอกาสเกิดมากรวมทั้งทำให้เกิดอาการ ชาของแขนข้างที่ทำผ่าตัด
                  สอดคล้องกับการศึกษา ของ Husted Madsem, et al., 2008; Silberman, et al., 2004; Vitug & Newman,
                  2007(2-4) พบว่า ภาวะน้ำเหลืองคั่งที่แผลผ่าตัด (Seroma) เกิดได้ ร้อยละ 10-80 และอาการชาแขนข้างที่ทำ

                  ผ่าตัด (Numbness) พบได้ร้อยละ 25.5 ดังนั้นผู้ป่วยผ่าตัด มะเร็งเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลงที่จำหน่าย
                  จำเป็นต้องเรียนรู้วิธี การดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่ อาจจะเกิดขึ้น และปรับเปลี่ยนแบบ
                  แผนการดำเนิน ชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเจ็บป่วย พยาบาล ในฐานะผู้ดูแลจะต้องให้การช่วยเหลือ และ
                  พัฒนา ศักยภาพผู้ป่วยโดยการให้ความรู้และการฝึกทักษะ อย่างมีแบบแผน ช่วยให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลเกิดความ

                  มั่นใจในการดูแลตนเองมากขึ้นสอดคล้องกับระบบ การสนับสนุนและให้ความรู้ตามทฤษฎีของ Orem ซึ่งเป็น
                  ระบบที่ครอบคลุมทั้งด้านการ พยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ป่วยแล้ว ยัง มีการติดตามและพัฒนา
                  ความสามารถในการดูแล ตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ระบบสนับสนุน และให้ ความรู้ (supportive education
                  nursing system) เมื่อผู้ป่วยดูแลตนเองได้ แต่ยังขาดความรู้และทักษะ มีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อที่จะเพิ่ม

                  ความสามารถใน การดูแลตนเอง
                         นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความ พึงพอใจต่อการวางแผนจำหน่ายร้อยละ 98 อธิบายได้ว่าการ
                  ให้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงปัญหา และความต้องการเป็นรายบุคคล และให้ครอบครัว มีส่วนร่วม

                  เปิดโอกาสให้ซักถาม มีการติดตาม ประเมินซ้ำรวมทั้งการสอนและฝึกทักษะเพื่อให้ผู้ป่วย มีความมั่นใจในการ
                  ดูแลตนเอง ทำให้ผู้ป่วยมีความ พึงพอใจต่อการวางแผนจำหน่ายอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับการศึกษาของ
                  สุชา ปาน้อยนนท์ และคณะ (2010) กล่าวว่าการให้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความ
                  วิตกกังวล ส่งผลให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายมีความ พึงพอใจเพิ่มขึ้น

                  ข้อเสนอแนะ

                         1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
                            1.1 โปรแกรมวางแผนจำหน่ายหลังผ่าตัดมีการติดตามต่อเนื่องเมื่อผู้ป่วยจำหน่ายที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
                  มีการนำแอปพลิเคชันไลน์มาใช้ในการใช้สื่อ QR Code สามารถนำโปรแกรมไปใช้ได้อย่างสะดวกเพื่อประเมิน
                  ภาวะแทรกซ้อน
                         2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

                            2.1 ควรศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมวางแผนจำหน่ายในระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น เช่น 6 เดือนขึ้นไป
                  เพื่อติดตามความต่อเนื่องในระยะยาวและเพื่อประเมินความยั่งยืน
                            2.2 ควรทำการศึกษาเพื่อการพัฒนาสื่อการสอนที่มีรูปแบบเฉพาะ อาจมีรูปแบบการสอนผ่านการ

                  จัดทำเป็นคลิปวิดีโอ โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์เป็นกิจกรรมหลักในการให้ความรู้และการกระตุ้นติดตาม เป็นต้น
                            2.3 การนำผลการวิจัยไปใช้แนวทางการดูแลร่วมกับสหสาขาวิชาชีพโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ใน
                  การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมชนิดถอนรากแบบดัดแปลงสามารถนำมาส่งเสริมการพัฒนาระบบการดูแลได้
                  อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพของการดูแลที่เน้นผลลัพธ์ต่อตัวผู้ป่วยด้วยการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ

                  ทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ และส่งเสริมทัศนคติที2ดีในการทำงานเป็นทีม
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101