Page 98 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 98
B26
1. ผู้ศึกษาจึงปรับแนวทางปฏิบัติในการสื่อสาร โดยสร้างกลุ่ม Application line เคมีบำบัด และให้
พยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก ถ่ายรูปคำสั่งการการรักษาส่งในกลุ่มไลน์เคมีบำบัด เพื่อให้ทราบจำนวนผู้มารับ
บริการเคมีบำบัดแต่ละวัน
2. ประเมินผล หลังปรับวิธีการดังกล่าว พบว่า แพทย์ พยาบาลและเภสัชกร ได้ทราบสูตรยา พยาบาล
ได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารยาดีขึ้น แต่ทีมพยาบาลยังพบปัญหา ผู้ป่วยบางรายต้องเลื่อนนัด
การให้ยา เนื่องจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พร้อม ทำให้ผู้ปฏิบัติ พยาบาลและเภสัชกร สับสนกับ
จำนวนผู้รับบริการ เมื่อดูจากภาพถ่ายคำสั่งการรักษาและจำนวนวนผู้มารับบริหารแต่ละวัน
ระยะที่ 3 พัฒนาต่อเนื่อง
1. ผู้ศึกษาได้ทบทวน และคิดหาวิธีการหรือรูปแบบตารางการนัดหมายที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ
จำนวนผู้รับบริการแต่ละวันที่เป็นแบบ Real time ที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถมองเห็นได้พร้อมกันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
เพื่อพยาบาลสามารถบริหารจัดการด้านอัตรากำลังและเภสัชกรเตรียมความพร้อมการผสมยา
2. ปรึกษา IT ของโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาออกแบบตารางการนัดหมายให้ยาเคมีบำบัด แบบ On-line
real-time
3. สรุปได้แนวปฏิบัติในการนัดหมายผู้ป่วยให้ยาเคมีบำบัด โดยการใช้ Google form เพื่อกรอก
รายละเอียดการนัดหมาย ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุลอายุ HN Dx แพทย์ผู้สั่งการรักษา และวันที่ให้ยา และ
ออกแบบรายงานในรูปแบบปฏิทินนัดหมาย online
4. เริ่มแนวปฏิบัตินำไปทดลองใช้ประมาณเดือนกรกฎาคม 2566 โดยกำหนดให้พยาบาลแผนก OPD
ศัลยกรรมและนรีเวชเป็นผู้ลงตารางนัดผู้ป่วยใน Google form ตามรายละเอียดดังกล่าว
5. ประเมินผลการปฏิบัติพบว่า บางวัน พยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก ไม่ได้ลงตารางนัดผู้ป่วย เนื่องจาก
ภาระงานประจำมาก ทำให้มีผู้ป่วยบางรายไม่ได้ลงตารางนัดหมาย ส่งผลต่อการจัดอัตรากำลังไม่เหมาะสมกับ
จำนวผู้ป่วยแต่ละวัน
6. ผู้ศึกษาจึงปรับวิธีการ โดยเปลี่ยนผู้ลงตารางการนัดหมายใน Google form โดยกำหนดให้มี
พยาบาล Nurse case manager สำหรับลงบันทึกการนัดหมายผู้รับบริการทุกราย ที่มาปฏิบัติงานที่หน่วย
เคมีบำบัด เป็นผู้ทำการลงตารางการนัดหมายทุกครั้งที่มีการถ่ายรูปคำสั่งการรักษาเข้ามาในกลุ่มไลน์เคมีบำบัด
14.ประเมินผลการนำแนวปฏิบัติไปใช้ เรื่อง ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ความสะดวกในการนัดหมายลงตาราง
และการปฏิบัติตามแนวทางการนัดหมาย
ผลการศึกษา
หลังพัฒนาระบบการนัดหมายล่าสุด ได้แนวปฏิบัติการนัดหมายผู้ป่วยให้ยาเคมีบำบัดเป็นรูปแบบการ
นัดหมายลง google form และแปรผลออกมาเป็นปฏิทิน online เมื่อประเมินผลการนำแนวปฏิบัติไปใช้
พบว่า แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เกิดความพึงพอใจ ได้ทราบจำนวนผู้รับบริการทุกวัน และสามารถบริหาร
จัดการอัตรากำลัง เตรียมความพร้อมในการผสมยาเคมีได้เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วยได้ทันเวลา ส่วนพยาบาล
ก็สามารถจัดอัตรากำลังได้เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วยแต่ละวัน ซึงเปิดให้ยาเคมีบำบัดสัปดาห์ละ 3 วัน พยาบาล
มีการเฝ้าระวังการบริหารยาปลอดภัยและสามารถติดตามผู้ป่วยที่ไม่มารับยาตามแพทย์นัดได้ทันท่วงที
เมื่อพบว่า วันนัดให้ยาผู้ป่วยยังไม่มา ได้มีการโทรศัพท์ติดตามผู้ป่วยให้มารับยาตามแผนการรักษา ตั้งแต่เปิด
ลงทะเบียนใน google form online มีผู้ได้รับการลงทะเบียนนัดทั้งหมดจำนวน 512 ครั้ง