Page 97 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 97
B25
การพัฒนารูปแบบตารางการนัดหมายผ่านแอปพลิเคชันปฏิทิน Google form On line
สำหรับผู้ป่วยให้ยาเคมีบำบัด.”
นางอุษา พงษ์เลาหพันธุ์
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 สุพรรณบุรี เขตสุขภาพที่ 5
ประเภทนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 มีศักยภาพเปิดบริการหน่วยเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอกและ
ใน จำนวน 4-8 เตียง เริ่มบริการ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งทางนรีเวช
โดยพยาบาลวิชาชีพหมุนเวียนมาให้บริการ อัตรากำลังวันละ 1-2 คน ที่ผ่านมา เมื่อแพทย์สั่งการรักษาด้วย
ยาเคมีบำบัด พยาบาลจะมาลงสมุดบันทึกการให้ยาเคมีบำบัดไว้ในสมุดที่แผนกผู้ป่วยนอก แต่แพทย์ผู้สั่งการ
รักษาจะมีทั้งศัลยแพทย์และแพทย์มะเร็งนรีเวชวิทยา ดังนั้น พยาบาลที่หน่วยเคมีบำบัดจะไม่ทราบว่า แต่ละวัน
จะมีคนไข้จำนวนมาให้ยาเคมีบำบัดกี่คน ซึ่งระยะแรกเปิดบริการจำนวน 4 เตียง เมื่อมีผู้ป่วยแต่ละวันมีจำนวน
เกินอัตรากำลัง 1:3 จึงส่งผลต่อภาระงานและความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังนั้น เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างมี
คุณภาพ ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ปลอดภัย เหมาะสมกับภาระงานและได้รับยาตรงตามตามวันที่กำหนด ผู้ศึกษา
จึงได้คิดปรับปรุงและพัฒนารูปแบบตารางการนัดให้ยาเคมีบำบัด โดยนำเทคโนโลยีด้าน IT มาช่วย เพื่อสะดวก
ต่อการนำไปใช้และบริหารอัตรากำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อให้มีปฏิทินตารางการนัดหมายสำหรับผู้ป่วยให้ยาเคมีบำบัด รูปแบบที่เป็นปัจจุบัน (real time)
และผู้เกี่ยวข้องสามารถเห็นตารางการนัดหมาย และนำไปใช้ในการบริหารจัดการอัตรากำลังได้อย่างเหมาะสม
วิธีการศึกษา ใช้แนวคิด PDCA ในการพัฒนา
ระยะแรก
1. ทบทวนแนวปฏิบัติการนัดหมายให้บริการยาเคมีบำบัด ศึกษาสถานการณ์การบริหารยาเคมี
2. ประชุมทีมวางแผนการนัดหมายการให้ยาเคมีบำบัด
3. วางแนวทางปฏิบัติในการนัดหมายผู้รับบริการ โดยจัดรูปแบบการนัดหมายผู้ป่วยสำหรับให้ยาเคมี
บำบัด โดยทำการนัดหมายในสมุด โดยพยาบาลแผนกศัลยกรรมและนรีเวชกรรมที่แพทย์สั่งการรักษาจะลง
ตารางนัดหมายให้ยาในสมุดไว้ และส่งคำสั่งการให้ยาเคมีบำบัดไปห้องยา และเภสัชกรเตรียมยา
4. ทดลองนำแนวทางไปปฏิบัติ
5. ประเมินผลการปฏิบัติพบว่า บางวันที่เปิดหน่วย พบว่า อัตรากำลังพยาบาลที่หมุนเวียนมาจาก
หอผู้ป่วย ไม่เหมาะสมกับผู้รับบริการ และพยาบาลที่หน่วยไม่ทราบคำสั่งการรักษาและสูตรการให้ยา เนื่องจาก
มีการส่งใบคำสั่งการักษาไปส่งห้องยาใน ทำให้ไม่สามารถเตรียมความพร้อมด้านอัตรากำลังและความรู้
ในการบริหารยาที่มีประสิทธิภาพได้
ระยะที่ 2 ปรับปรุงพัฒนา