Page 136 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 136
C11
เรียน วัยทำงาน วัยเปราะบาง (สูงอายุ) เพื่อให้กิจกรรมเหมาะสมกับกลุ่มวัย มีการรณรงค์ให้ความรู้ตามโรงเรียน
กศน. และชมรมผู้สูงอายุ มีการตั้งด่านรณรงค์ ติดสติกเกอร์ด้วยรักจึงตักเตือนทุกวันพุธ บ่าย 15.00 - 16.30 น.
หมุนเวียนทุกหมู่บ้าน มีกิจกรรม แยกน้ำ แยกปลาเพื่อจัดโซน เขียว เหลือง แดง เขียวคือพฤติกรรมขับขี่ดี
เหลืองคือขับรถเร็ว แดงคือ ไม่สวมหมวกนิรภัย และมีการเยี่ยมผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุ ที่บ้านทุกจันทร์
11.00 - 12.30 น. และเยี่ยมพร้อมทีมสหวิชาชีพจาก รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช ในผู้ป่วยที่ซับซ้อน
2) ความเสี่ยงด้านรถ รณรงค์ขอความร่วมมือร้านซ่อมจักรยานยนต์ ไม่แต่งซิ่ง, ติดสติกเกอร์
สะท้อนแสงหน้ารถ ท้ายรถจักรยานยนต์
3) ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม มีการสำรวจจุดเสี่ยง จุดเกิดเหตุบ่อย สำรวจโดย อาสาจราจร และ
กู้ชีพ แบ่งจุดเสี่ยงเป็น 2 ระดับคือ ระดับเล็กน้อย แก้ไขโดย อบต.และชุมชน ระดับใหญ่ คือจุดมีเหตุเสียชีวิต
และบาดเจ็บรุนแรง (มี5 จุด) แก้ไขร่วมกันโดย อบต.และแขวงการทางนครศรีฯ มีการสอบสวนการเกิดเหตุ
ณ สถานที่เกิดเหตุ ทั้งรายเสียชีวิตและบาดเจ็บรุนแรง และรายงานต่อผู้นำเพื่อการแก้ไขอย่างครอบคลุมต่อไป
2.2 การขับเคลื่อนสู่หน่วยขนาดกลาง ได้แก่ ระดับองค์กร ระดับโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก
ในองค์กร : สร้างมาตรการองค์กรในพื้นที่ 8 แห่ง โดยผู้บริหารกำหนดมาตรการองค์กร บุคลากร และ
ผู้มาติดต่อราชการ ต้องสวมหมวกนิรภัย 100% มีการทำ MOU ในระดับบุคคล แนะนำให้สวมหมวก
ใช้เทคนิคการ Re-flexion สะท้อนความคิด ความรู้สึก การรับรู้ สร้างรูปแบบคำแนะนำในการให้สวมหมวก
ในโรงเรียน : สร้างโรงเรียนต้นแบบ สอนหลักสูตร พรบ. ทางบก 8 ชม. ต่อ 1 ภาคเรียน ครอบคลุม
เนื้อหากฎหมายและการป้องกันอุบัติเหตุ โดยใช้คลิปการเกิดอุบัติเหตุเป็นสื่อการสอน มารยาทการขับขี่
และเครื่องหมายจราจร ความสูญเสียและผลกระทบจากอุบัติเหตุใช้เทคนิคการสร้างภาพจำการทำ CPR, มีการ
สนทนาหน้าเสาธง, การแจกยา 6 เม็ด, โครงการคนละครึ่งเพิ่มประชากรหมวก, โครงการนักเรียนรุ่นใหม่
มีใบขับขี่3รุ่น ๆ ละ 50 คน โดยขนส่งนครศรีธรรมราช, โครงการกิจกรรมนักเรียนเยี่ยมผู้ประสบอุบติเหตุ
ในชุมชนร่วมกับสหวิชาชีพ
ในศูนย์เด็กเล็ก : สร้างศูนย์เด็กเล็กต้นแบบ มีกิจกรรมแนะนำการใส่หมวก การฝึกใส่หมวกในเด็กเล็ก
สร้างวิธีการสื่อสารของเด็กเพื่อให้เป็นสื่อกลางในการปลูกจิตสำนึกให้กับพ่อแม่ มีครูและบุคลากรในศูนย์เด็กเล็ก
ทุกคนเป็นตัวอย่างในการใส่หมวกนิรภัย
2.3 การขับเคลื่อนสู่หน่วยเล็ก ดำเนินการเชิงลึกถึงระดับครอบครัว กิจกรรมเด่นคือ กิจกรรม
1 คน 1 ครอบครัว 1 ความปลอดภัยโดยการ ให้ความรู้ประชาชน 10 รุ่น ๆ ละ 120 – 150 คน รวม 1,200 -1,500 คน
ครอบครัวเหล่านี้รู้แล้วขยายต่อจนครบ 4,103 ครัวเรือน
2.4 การขับเคลื่อนด้านทรัพยากรในชุมชน ใช้พลัง Soft Power คือ อสม. ควบคู่ผู้นำ/
โต๊ะอิหม่าม ได้แก่กิจกรรม อสม. 1 คน ต่อ 14 หลังคาเรือน ใช้หลักการแยกน้ำ แยกปลา เพื่อการทำงาน
ได้ครอบคลุม มีการบันทึก ตรวจสอบ แนะนำ, มีมาตรการเคาะประตูบ้านสู่ความปลอดภัย และมี อสจร.
จำนวน 30 คน เพื่อส่งข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุ บุคคลกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง และป้องปรามการ
แข่งรถจักรยานยนต์