Page 146 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 146
C21
อภิปรายผล
กระบวนการในการรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back) มีประสิทธิภาพ ช่วยลดอุบัติการณ์ที่ต้อง
ได้รับการส่งต่อภายใน 48 ชั่วโมงหลังรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back) เนื่องจากการพัฒนากระบวนการ
ใช้วิธีการที่เป็นระบบ โดยการศึกษาสภาพการณปัจจุบันเกี่ยวกับกระบวนการรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back)
มีการวิเคราะห์ในประเด็นแนวทางการพัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วย (กระทรวงสาธารณสุข) ประกอบด้วย
1) กระบวนการรับแจ้งและประสานงาน พบปัญหาสิทธิ์การรักษาและส่งข้อมูลเบื้องต้น 2) กระบวนการ
ตรวจสอบข้อมูล พบปัญหาส่งต่อข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน เช่น เชื้อดื้อยา เป็นต้น 3) กระบวนการประเมินผู้ป่วย
พบปัญหา ประเมินผู้ป่วยที่ต้องรับกลับมารักษาต่อ ยังมีการแจ้งข้อมูลปัจจุบันที่ไม่ครบถ้วน ทำให้การประเมิน
และการสั่งการรักษาไม่เหมาะสมจนนำไปสู่การส่งกลับได้ 4) กระบวนการรับส่งต่อผู้ป่วย พบปัญหา การรับ
ส่งต่อผู้ป่วย ยังมีการประเมินสัญญาณชีพก่อนรับส่งผู้ป่วยไม่ครอบคลุม และเอกสารไม่ตรงกับผู้ป่วย จนได้ร่าง
กระบวนการรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content
validity index CVI.) เท่ากับ 1.00 และประเมินผลกระบวนการรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back) โดย
เริ่มจากการชี้แจงกระบวนการที่พัฒนาขึ้นใหม่ และให้สมาชิกในทีมได้ทดลองใช้ ทดลองนำไปใช้และสรุปผลการ
ดำเนินงาน โดยพบว่า ผลการดำเนินงานส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุบัติการณ์การใส่
ท่อช่วยหายใจ ภายใน 48 ชั่วโมง และอุบัติการณ์ที่ต้องได้รับการส่งต่อ ภายใน 48 ชั่วโมงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้เนื่องจากในการพัฒนากระบวนการ ใช้การประชุมที่มุ่งหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เป็นการพัฒนา
งานอย่างมีแบบแผน ได้แก่ การกำหนดหัวข้อเรื่องในการสนทนาที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมในการนำเสนอ
กระบวนการ การฝึกปฏิบัติก่อนใช้จริง รวมถึงการกำหนดเป้าหมายในการที่พัฒนาที่ชัดเจน จึงส่งผลให้แนวทาง
ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. นำไปทดลองใช้ให้ครอบคลุมผู้ป่วยทุกระบบ
2. จัดทำเอกสาร re-check เพื่อทวนสอบขั้นตอนการดำเนินงาน