Page 144 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 144
C19
การพัฒนากระบวนการรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back)
นาวสาวธารารัตน์ บุญทอง และคณะ
โรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตสุขภาพที่ 6
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีแผนพัฒนาระบบริการสุขภาพ (Service plan) โดยมีกรอบแนวคิด
เรื่องการจัดให้มีโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วย (Referral hospital cascade) เพื่อพัฒนาระบบรับส่งต่อให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง การส่งกลับ (Refer back) ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในระบบการส่งต่อ
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสม (กองบริหารสาธารณสุข, 2562) แต่พบปัญหา มีอุบัติการณ์ ผู้ป่วย
มีอาการทรุดลงขณะย้ายผู้ป่วยขึ้นตึกจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจและส่งกลับ โรงพยาบาลบางปะกง ก็พบ
มีอุบัติการณ์ ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงขณะย้ายผู้ป่วยขึ้นตึกจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจและส่งกลับไปโรงพยาบาล
พุทธโสธร ภายใน 48 ชม. คิดเป็นร้อยละ 0.87 และ 0.37 ในปีงบประมาณ 2562 - 2563 ตามลำดับ ส่งผลต่อ
ความปลอดภัยและคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย จากปัญหาดังกล่าวทีมผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการศึกษาเพื่อพัฒนา
กระบวนการรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back) ขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนากระบวนการรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back)
2. เพื่อลดอุบัติการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจภายใน 48 ชั่วโมงหลังรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back)
3. เพื่อลดอุบัติการณ์ที่ต้องได้รับการส่งต่อภายใน 48 ชั่วโมงหลังรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back)
วิธีการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เลือกใช้กรอบแนวคิด เรื่อง
การรับผู้ป่วยส่งกลับ (Refer back) ตามแนวทางการพัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วย (กระทรวงสาธารณสุข)
ประกอบด้วย 1) กระบวนการรับแจ้งและประสานงาน 2) กระบวนการตรวจสอบข้อมูล 3) กระบวนการประเมิน
ผู้ป่วย 4) กระบวนการรับส่งต่อผู้ป่วย โดยแบ่งระยะการศึกษาเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับกระบวนการรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back)
ระยะที่ 2 พัฒนากระบวนการรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back)
ระยะที่ 3 ประเมินผลกระบวนการรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันและสนทนากลุ่ม คือ พยาบาลวิชาชีพ
งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลบางปะกง จำนวน 13 คน
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลกระบวนการ ในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 254 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่สร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดเรื่องแนวคิดเรื่อง การรับผู้ป่วยส่งกลับ
(Refer back) ตามแนวทางการพัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วย (กระทรวงสาธารณสุข) มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา
(Content validity indexCVI.) เท่ากับ 1.00
2. กระบวนการรับผู้ป่วยกลับมารักษาต่อ (Refer back) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นใหม่ ประกอบด้วย
2.1 กระบวนการรับแจ้งและประสานงาน เพิ่มขั้นตอนประสานศูนย์สิทธิ์ทุกราย