Page 141 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 141

C16


                         การพัฒนาแนวทางการส่งต่อ (door to refer) ในผู้บาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรง

                                        หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเสนา


                                                                                          นางสาวอัมรา สุขมะโน
                                                            โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขตสุขภาพที่ 4

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา

                         การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head Injury) เป็นภาวะที่อันตรายเพราะมีการกระทบกระเทือนทางสมอง
                  กะโหลกศีรษะ และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทุกประเภท ผู้ป่วยจึงต้อง
                  ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาเพื่อลดโอกาสการเสียชีวิตหรือเกิดความพิการน้อยที่สุด จากข้อมูล
                  เฝ้าระวังการบาดเจ็บ (IS online) ปี 2561 - 2564 พบว่า อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บสูงสุดจากอุบัติเหตุจราจร คือ

                  กะโหลกศีรษะ คิดเป็นร้อยละ 70.58 จากการบาดเจ็บจากอวัยวะทั้งหมด และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต
                  มากที่สุด ระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขา Trauma and Emergency ได้กำหนดเป้าหมายให้ผู้บาดเจ็บ
                  ที่ศีรษะที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ต้องได้รับการผ่าตัดภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อสามารถช่วยผู้ป่วยได้ทันเวลา มีโอกาส
                  รอดชีวิตและลดสาเหตุของความพิการ

                         สำหรับแนวทางการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรงที่เข้ารับบริการในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
                  โรงพยาบาลเสนา ก่อนปี พ.ศ.2561 ไม่มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่สงสัย Traumatic ICH ทำให้เกิดความล่าช้า
                  ในการตรวจวินิจฉัยและส่งต่อ เพราะผู้บาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรงที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดจำเป็นต้องส่งต่อไป
                  ยังโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมสมอง เนื่องจากโรงพยาบาลเสนายังขาดแพทย์เฉพาะทาง

                  จากการวิเคราะห์และทบทวนสถานการณ์ พบว่า มีความล่าช้าในการส่งต่อจากขั้นตอนการส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
                  สมอง การรายงานผล และการประสานการส่งต่อ จากการประชุม Trauma audit ซึ่งประกอบด้วยทีมสหสาขา
                  วิชาชีพ ได้ร่วมกันพัฒนาแนวการส่งต่อ (door to refer) ในผู้บาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรง เพื่อให้ผู้บาดเจ็บที่ศีรษะ

                  ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา
                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งต่อ (door to refer) ในผู้บาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรง หน่วยงานอุบัติเหตุ
                  และฉุกเฉิน โรงพยาบาลเสนา

                  วิธีการดำเนินงาน
                         1. นำข้อมูลผู้บาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรงมาวิเคราะห์ และนำเสนอผลการวิเคราะห์เข้าสู่ที่ ประชุม
                  Trauma audit  ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ศัลยแพทย์ พยาบาลแผนก

                  อุบัติเหตุและฉุกเฉิน ศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วย แผนกเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
                         2. วางแผนร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อหาแนวทางการส่งต่อ (door to refer) ในผู้บาดเจ็บที่ศีรษะ
                  ระดับรุนแรง ตั้งแต่แรกรับที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  การวางแผนการรักษา การส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

                  สมอง การรายงานผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การประสานการส่งต่อ
                           3. กำหนดแนวทางการส่งต่อ (door to refer) ในผู้บาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรง ที่ไม่มีการบาดเจ็บ
                  ระบบอื่น
                           4. นำแนวทางการส่งต่อ (door to refer) ในผู้บาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรง แจ้งให้ทีมสหสาขาวิชาชีพ

                  ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบและนำไปใช้ปฏิบัติ
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146